วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

vdo เกสตัลท์

  เกสตัลท์ (Gestalt Therapy) เขาเกิดในเยอรมันเมื่อปี ค.ศ. 1893 ได้รับปริญญาแพทย์ศาสตร์ในปี ค.ศ.1920 และได้ประสบการณ์เกี่ยวกับจิตเวชในเบอร์ลิน โดยใช้วิธีจิตวิเคราะห์ในการบำบัดรักษาคนไข้ หลังจากนั้นฟิลส์ได้อพยพครอบครัวมาอยู่ที่แอฟริกาใต้ และได้เริ่มคิดวิธีการอื่นในการบำบัดรักษาคนไข้โรคจิต โรคประสาท ต่อมาในปี ค.ศ. 1946 เขาย้ายมาอยู่ในอเมริกาและในช่วงนั้นเฟิลส์ได้นำวิธีการแบบเกสตัลท์มาใช้ในการบำบัดรักษาคนไข้ จนกระทั่งถึงแก่กรรมในปี ค. ศ. 1970
เขาได้แต่งตำราไว้หลายเล่ม อาทิ เช่น
    “Gestalt Therapy  : Excitement and Growth in the Human Personality” (Perls ,Hefferline and Goodman, ค.ศ. 1951)
     “Gestalt Therapy Verbatim” (Perls, ค.ศ. 1969)
                 แม้ว่าเฟิลส์จะมีแนวความคิดเกี่ยวกับการบำบัดแบบเกสตัลท์มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1947 ก็ตามแต่วิธีการนี้เพิ่งแพร่หลายมากในปัจจุบัน มีหนังสือต่างๆ เกี่ยวกับจิตบำบัด แบบเกสตัลท์ และวิธีให้บริการปรึกษาแบบเกสตัลท์หลายเล่ม กับทั้งมีผู้นำทฤษฎีนี้ไปใช้ในการให้บริการให้บริการปรึกษา
                กล่าวโดยสรุป คือ ทฤษฎีการให้การปรึกษาเชิงบำบัดแนวเกสตัลท์  เป็นการบำบัดทางประสบการณ์ ซึ่งส่วนใหญ่เน้นที่การมีสติหรือการตระหนักรู้ ถึงความรู้สึกของตนเองที่เกิดขึ้นในขณะนั้น และการทำงานของกายกับใจที่ควบคู่กันไป กล่าวคือเป็นการทำงานของความคิด ความรู้สึก และการรับรู้ ที่รวมกันเป็นกระแสธาร ลักษณะของจิตบำบัดแนวเกสตัลท์จึงเป็นแบบ Holistic Approach ซึ่ง Perls เชื่อว่าจะทำให้เกิดบูรณาการได้มากกว่าที่จะแยกออกมาวิเคราะห์เป็นบางส่วน
การพิจารณามนุษย์ตามแนวคิดของทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบจิตวิทยาเกสตัลท์
          จิตวิทยาเกสตัลท์มีแนวความคิดเกี่ยวกับการพิจารณามนุษย์ดังนี้คือ
  1.   มนุษย์เป็นอิสระจากอดีต เขาอยู่ในปัจจุบันมนุษย์ไม่สามารถจัดการกับอดีตและอนาคตได้อย่างแน่นอน แต่บุคคลสามารถดำเนินการกับปัจจุบันได้แน่นอนกว่า
มีคำกล่าวเกี่ยวกับแนวความคิดของเกสตัลท์ว่า
“จงอยู่กับปัจจุบัน อย่าอยู่กับอดีต และอย่าเลื่อยลอยไปกับอนาคต”
  1.   ทฤษฎีมีความเชื่อเหมือนทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบบุคคลเป็นศูนย์กลางและทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบภวนิยม ที่ว่ามนุษย์มีความสามารถที่จะปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมและดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพสามารถแก้ปัญหาและตัดสินใจได้ด้วยตัวเองและมีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง
  2.   มนุษย์พยายามพัฒนาตนเองแต่มีความหมายแตกต่างจากการพัฒนาตัวเองของทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบผู้รับบริการแบบศูนย์กลาง ซึ่งเน้นให้ผู้รับบริการพัฒนาตนเองในอนาคต แต่แนวคิดของการให้บริการปรึกษาแบบเกสตัลท์เน้นให้ผู้รับบริการพัฒนาตนเองในปัจจุบัน
  3.   มนุษย์สามารถจัดระบบชีวิต และแก้ปัญหาของตนเองได้ (Self regulation) เมื่อเกิดอารมณ์เครียดหรือเกิดความต้องการด้านต่างๆ ขึ้น มนุษย์จะพยายามทำให้เกิดความสมดุล เช่น พยายามลดความเครียดลง หรือพยายามกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จะสนองความต้องการ แต่ถ้ามนุษย์มัวแต่รำพึงรำพันถึงอดีตหรือแสวงหาอนาคตโดยไม่นึกถึงภาวะปัจจุบัน เขาก็จะไม่สามารถจัดระเบียบหรือลดความเครียดด้านจิตลงได้
  4.   การที่มนุษย์ตระหนักรู้ (Awareness) ในความต้องการของตน จะช่วยให้มนุษย์หาทางตอบสนองความต้องการ แต่ถ้าพยายามหลีกเลี่ยงไม่นึกถึงความต้องการนั้น จะใช้พลังงานไปในการเก็บกดความต้องการซึ่งจะทำให้เครียดหนักขึ้นและไม่สามารถตอบสนองความต้องการใดๆ ได้
  5.   บุคคลประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สัมพันธ์กันทั้งร่างกาย อารมณ์ ความคิด ความรู้สึกและการรับรู้ เป็นการผสมผสานกัน(integration)เป็นการแสดงออกอย่างคนที่เป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง
  6.   มนุษย์เกิดมาโดยไม่ได้มีความดีและความชั่วติดตัวมาด้วย
  7.   มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม เขาต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การที่จะเข้าใจบุคคลจะต้องเข้าใจสิ่งแวดล้อมของเขาด้วย
  8.   บุคคลมีเสรีภาพที่จะเลือกตอบสนองต่อสิ่งเร้า
  9. การตระหนักต่อความรู้สึก ความคิด อารมณ์และการรับรู้ของตนในสภาพการณ์ต่างๆ ช่วยให้บุคคลสามารถตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม
หลักการของจิตวิทยาเกสตัลท์ที่นำมาให้บริการปรึกษา
               จิตวิทยาเกสตัลท์เกิดขึ้นในประเทศเยอรมัน ตอนต้นศตวรรษที่ 20 ผู้นำแนวคิดของจิตวิทยาเกสตอลท์คือ เคิท คอฟกา (Kurt Koffka) วูฟแกง เคอเลอร์ (Wolfgang Koehler และแมค เวอร์ไทเมอร์ (Max Wertheimer)
             หลักการของจิตวิทยาเกสตัลท์ที่นำมาใช้ให้บริการปรึกษา(Behaviorism) คือพฤติกรรมนิยมเน้นหน่วยย่อยของพฤติกรรมตอบสนอง ซึ่งนักจิตวิทยาเกตตัลท์เห็นว่าจะทำให้เกิดข้อจำกัดมากเกินไป โดยมีแนวความคิดว่ามนุษย์จะรวบรวมสิ่งเร้าทั้งหลายและประมวลเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นการรัยรู้ที่มีความหมายทั้งหมดของบุคคล (the whole) สิ่งเร้าต่างๆ จะมีความหมายก็ต่อเมื่อบุคคลจัดระบบสิ่งเหล่านี้เข้าด้วยกันและประมวลกันเข้าเป็นการรับรู้ของเขา
              เฟิลส์ได้นำหลักการของจิตวิทยาเกสตัลท์ที่ว่า มนุษย์จะรับรู้สิ่งเร้าต่างๆ โดยนำสิ่งเร้านั้นมาสัมพันธ์กันเป็นสิ่งที่มีความหมาย (closure) นั่นก็คือ มนุษย์พยายามที่จะประติดประต่อสิ่งต่างๆ ให้มีความหมายในการรับรู้ของเขา และมีความต้องการจะแก้ปัญหาที่ติดค้างอยู่ในใจ (unfinished business) ให้สำเร็จลุล่วงลงนอกจากนั้นเฟิลส์ได้ตีความของคำว่า “การรับรู้” ว่าคือการรวมการรับรู้ของบุคคลที่มีต่อประสบการณ์ อารมณ์และการรับสัมผัสของเขาเข้าด้วยกัน
             การรับรู้ของบุคคลในสิ่งที่เขาให้ความสนใจและตระหนักจะเปรียบเทียบเป็นภาพ(figure) และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เปรียบได้กับพื้น(ground) มนุษย์ไม่ได้ตอบสนองต่อทุกๆ สิ่งเร้า การที่บุคคลจะตอบสนองขึ้นอยู่กับการที่เขาตระหนักหรือให้ความสนใจต่อสิ่งเร้า ตัวอย่างเช่น “ขณะที่ฉันนั่งลงเขียนหนังสือ ฉันตระหนักถึงสิ่งต่างๆ อย่างไม่เด่นชัดนัก เช่นเก้าอี้ที่ฉันนั่ง ปากกาที่ฉันถือ ห้องที่ฉันอยู่ สิ่งที่ฉันตระหนักมากที่สุดคือ การรวบรวมความคิดของฉันและเขียนลงบนกระดาษ ขณะที่ฉันเหนื่อยและเมื่อยฉันตระหนักหรือให้ความสนใจต่อความปวดเมื่อยตามร่างการและรู้สึกถึงรสชาติกาแฟที่ดื่ม กาแฟช่วยให้ฉันสดชื่นขึ้น แต่ในที่ฉันตระหนักต่อการเขียนหนังสือ รสชาติของกาแฟจะเป็นเรื่องรองลงมา” จะเห็นได้ว่าจิตวิทยาเกสตัลท์เน้นการรับรู้ของบุคคลที่มีต่อประสบการณ์ อารมณ์ และการรับสัมผัสของเขา สิ่งที่เขารับรู้หรือให้ความสนใจในขณะนั้นเปรียบเหมือนภาพ(figure) ส่วนสิ่งเร้าอื่นๆ เปรียบเหมือนพื้น (ground) ซึ่งภาพและพื้นนั้นอาจเปลี่ยนกลับไปกลับมาได้ เช่น เปลี่ยนความสนใจหรือความตระหนักกลับไปกลับมาระหว่างการเขียนหนังสือกับรสชาติของกาแฟ
             หลักการของการให้บริการปรึกษาแบบเกสตัลท์เน้น  ปัจจุบัน  เพราะอดีตก็จากเราไปแล้ว  และ อนาคต เป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง การคิดถึงแต่อดีตเป็นการหนีการคิดดำเนินการกับปัจจุบัน หรือหนีการเผชิญปัญหาในปัจจุบัน  และการที่บุคคลครุ่นคิดถึงแต่อนาคตจะก่อให้เกิดความวิตกกังวล  ดังนั้นปัจจุบันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรเน้น แต่คนส่วนใหญ่คิดถึงปัจจุบันแต่เพียงชั่วครู่ชั่วขณะเท่านั้น  ฉะนั้นผู้ให้บริการปรึกษาควรพยายามให้ผู้รับบริการตระหนักในปัจจุบันมากกว่าที่จะคิดถึงประสบการณ์
ความเชื่อของการบำบัดแนวเกสตัลท์ พอสรุปได้ดังนี้
                      1. มนุษย์มีลักษณะเป็นหน่วยที่มีความสมบูรณ์อยู่ในตนเอง ร่างกาย อารมณ์ ความคิด ประสาทสัมผัสและการรับรู้ มีการทำงานที่สัมพันธ์กัน มนุษย์จึงมีลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การเข้าใจมนุษย์นั้นจะเข้าใจเฉพาะในแต่ละส่วนไม่ได้ จำเป็นต้องเข้าใจลักษณะของหน่วยเต็มทั้งหน่วย คือบุคคล
                      2. มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม การที่จะเข้าใจมนุษย์ให้ลึกซึ้งจำเป็นต้องเข้าใจทั้งบุคคล และสภาพแวดล้อมของเขา
                      3. มนุษย์เป็นผู้เลือกที่จะแสดงพฤติกรรมของตนเองในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก และภายใน
                      4. มนุษย์มีความสามารถที่จะรับรู้หรือสัมผัสถึงความคิด อารมณ์ และการรับรู้ของตนเอง
                      5. มนุษย์มีประสิทธิภาพในการรับรู้ถึงตนเอง มีสติ (Self Awareness) จึงทำให้มนุษย์มีความสามารถในการตัดสินใจเลือก พร้อมทั้งมีความรับผิดชอบต่อพฤติกรรมของเขา
                     6. มนุษย์มีความสามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                      7. มนุษย์ไม่สามารถนำตนเองไปเผชิญกับอดีตหรืออนาคตได้ เขาสามารถเผชิญเหตุการณ์ด้วยตนเองได้กับปัจจุบันเท่านั้น นั้นคือ คนเราสามารถรับรู้ถึงประสบการณ์ส่วนตนจากปัจจุบันเท่านั้น อดีตหรืออนาคตสามารถรับรู้ได้จากปัจจุบัน โดยการจำหรือการคิดคาดหวัง
8. โดยพื้นฐานของธรรมชาติแล้ว มนุษย์เราไม่ดีหรือไม่เลวโดยกำเนิด

แนวคิดกับสภาวะปัจจุบัน (The Now)
                    สำหรับ Perls แล้ว การมีชีวิตอยู่ก็คือ “ปัจจุบัน” อดีตนั้นเป็นสิ่งที่ผ่านไปแล้ว และอนาคตก็ยังเป็นเรื่องที่มาไม่ถึง มีแต่ปัจจุบันเท่านั้นที่มีความหมายสำคัญ สิ่งที่ Perls เน้นมากที่สุดก็คือ ที่นี่และและเดี๋ยวนี้ (Here and Now) Perls เชื่อว่าพลังของคนเรามีอยู่กับปัจจุบัน การจะดำรงชีวิตอยู่กับปัจจุบัน ก็จะต้องอยู่อย่างมีคุณภาพ และตรงตามสภาพความเป็นจริงของชีวิต บุคคลที่ไม่สามารถรับรู้ถึงสภาวะปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็เนื่องจากการสูญเสียพลังงานที่ใช้ไปกับการครุ่นคิดคำนึงถึงสิ่งที่ผ่านมาในอดีต และมุ่งมั่นจะวางแผนในอนาคตอย่างไม่รู้จบ บุคคลนั้นก็จะเกิดความวิตกกังวลขึ้นมา
                      สำหรับสภาพของผู้มีทุกข์ Perls เชื่อว่ามักจะเป็นบุคคลที่ขาดการตระหนักรู้ กล่าวคือไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรที่จะสามารถดำรงชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพกล่าวคือมีชีวิตอยู่เพียงแค่ให้หมดสิ้นไปวันหนึ่งเท่านั้น รู้สึกช่วยเหลือตนเองไม่ได้ สิ้นหวังในชีวิต ไม่รู้จะจัดการกับตนเองอย่างไร ขาดความรับผิดชอบต่อตนเอง เป็นบุคคลที่มีธุรกิจคั่งค้างอยู่ในตัวอย่างมาก และหาทางออกโดยการหนีจากสภาวะปัจจุบันไปอยู่กับอดีตและอนาคต
จุดมุ่งหมายของการให้การปรึกษาแบบเกสตัลท์
                   1. ให้ผู้รับการปรึกษาเปลี่ยนพฤติกรรมจากการพึ่งพาผู้อื่น มาสู่การพึ่งพาตนเอง รับผิดชอบต่อตนเองพัฒนาไปสู่การมีวุฒิภาวะ
                    2. ให้ผู้รับการปรึกษามีประสบการณ์เกี่ยวกับการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง สามารถใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่
                    3. ช่วยให้ผู้รับการปรึกษาได้ใช้พลังงานของชีวิตอยู่กับปัจจุบัน รู้จักปล่อยวางอดีต โดยการทำความรู้สึกที่คั่งค้างให้สมบูรณ์ และไม่วิตกเกี่ยวกับอนาคต
                    4. ช่วยให้ผู้รับการปรึกษากล้าเป็นตัวของตัวเองที่แตกต่างไปจากบุคคลอื่น เข้าใจในค่านิยมและกฏเกณฑ์ของสังคม
บทบาทของผู้ให้บริการปรึกษาแบบเกสตัลท์
                    1. ผู้ให้บริการปรึกษาจะไม่ทำตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญที่จะตีความหมาย ประสบการณ์ของผู้รับบริการหรือคาดคะเนอนาคตให้ผู้รับบริการ
                    2. . ผู้ให้บริการปรึกษาจะต้องช่วยให้ผู้รับบริการเกิดความกระตือรือร้น มีความรับผิดชอบ และพร้อมที่จะพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่
                    3. . ผู้ให้บริการปรึกษาจะเปิดโอการให้ผู้รับบริการได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการให้บริการปรึกษาให้มากที่สุด
                    4. . ผู้ให้บริการปรึกษาจะสังเกตความไม่สอดคล้องกันระหว่างคำพูดกับอารมณ์ของผู้รับบริการ  แล้วป้อนกลับไปให้ผู้รับบริการได้ตระหนักถึงพฤติกรรมและอารมณ์ของเขาในขณะนั้น 
เพียเจต์เชื่อว่าคนเราทุกคนตั้งแต่เกิดมา  พร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและโดยธรรมชาติของมนุษย์เป็นผู้พร้อม ที่  จะมีกริยากรรมหรือเริ่มกระทำก่อน (Active)  นอกจากนี้เพียเจต์ถือว่ามนุษย์เรามีแนวโน้มพื้นฐานที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด 2 ชนิด  คือ การจัดและรวบรวม(Oganization) และ การปรับตัว (Adaptation)  ซึ่งอธิบายดังต่อไปนี้   

การจัดและรวบรวม (Oganization)   หมายถึง การจัดและรวบรวมกระบวนการต่างๆภายใน  เข้าเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง เป็นระเบียบ  แและมีการปรับปรุงเปลียนแปลงอยู่ตลอดเวลาตราบที่ ยังมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม   
 
การปรับตัว (Adaptation)               หมายถึง  การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมเพื่ออยู่ในสภาพสมดุล  การปรับตัวประกอบด้วยกระบวนการ 2 อย่าง คือ                                  
  1. การซึมซาบหรือดูดซึม (Assimilation)                       เมื่อ  มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึมซาบหรือดูดซึมประสบการณ์ใหม่  ให้รวมเข้าอยู่ในโครงสร้างของสติปัญญา(Cognitive Structure) โดยจะเป็นการตีความ  หรือการรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม                                
  2.การปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accomodation)                       
หมาย ถึง  การเปลี่ยนแบบโครงสร้างของเชาว์ปัญญาที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม  หรือประสบการณ์ใหม่  หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดเดิมให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมใหม่  ซึ่งเป็นความสามารถในการปรับโครงสร้างทางปัญญา
     
รากฐานทางปรัชญาของทฤษฎีมาจากความพยายามที่จะเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่  ด้วยกระบวนการที่พิสูจน์อย่างมีเหตุผล เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจาก  การไตร่ตรอง ซึ่งถือเป็นปรัชญาปฏิบัตินิยมประกอบกับหลักฐานทางจิตวิทยาการเรียนรู้ที่มี  อิทธิพลต่อแนวคิดของเพียเจต์เอง  ซึ่งเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นจาก  การปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลย์ (Equilibrium)  ระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม สรุปแล้วในพัฒนาการเชาวน์ปัญญาบุคคลต้องมีการปรับตัวซึ่งประกอบด้วยกระบวนการสำคัญ  2 อย่าง  คือ การดูดซึมหรือซึมซาบเข้าสู่โครงสร้างทางปัญญา  (Assimilation) และ การปรับโครงสร้างทางสติปัญญา  (Accomodation  เพีย เจต์ กล่าวว่า  ระหว่างระยะเวลาตั้งแต่ทารกจนถึงวัยรุ่น  คนเราจะค่อยๆสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นตามลำดับขั้น  โดยเพียเจต์ได้แบ่งลำดับขั้นของพัฒนาการเชาวน์ปัญญาของมนุษย์ ไว้ 4 ขั้น  ซึ่งเป็นขั้นพัฒนาการเชาวน์ปัญญา ดัง   
   

ขั้นที่1...Sensorimotor (แรกเกิด - 2  ขวบ)  เพียเจต์  เป็นนักจิตวิทยาคนแรกที่ได้ศึกษาระดับเชาวน์ปัญญาของเด็กวัยนี้ไว้อย่าง  ละเอียดจากการสังเกตบุตร 3 คน   โดยทำบันทึกไว้และสรุปว่าวัยนี้เป็นวัยที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม  โดยประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของอวัยวะ ต่างๆของร่างกาย                          
  ขั้นที่2...Preoperational  (อายุ18 เดือน - 7 ปี) เด็ก  ก่อนเข้าโรงเรียนและวัยอนุบาลมีระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในขั้นนี้  เด็กวัยนี้มีโครงสร้างของสติปัญญา(Structure)   ที่จะใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบๆตัว ได้  หรือ  มีพัฒนาการทางด้านภาษา เด็กวัยนี้จะเริ่มด้วยการพูดเป็นประโยคและเรียนรู้คำต่างๆเพิ่มขึ้น  เด็กจะได้รู้จักคิด อย่างไรก็ตาม  ความคิดของของเด็กวัยนี้ยังมีข้อจำกัดหลายอย่างเด็กก่อนเข้าโรงเรียนและวัย อนุบาล  มีระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในขั้นนี้ เด็กวัยนี้มีโครงสร้างของสติปัญญา(Structure)  ที่จะใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบๆตัวได้  หรือมีพัฒนาการทางด้านภาษาเด็กวัยนี้จะเริ่มด้วยการ พูดเป็นประโยคและเรียนรู้คำต่างๆเพิ่มขึ้นเด็กจะได้รู้จักคิด  อย่างไรก็ตามความคิดของของเด็กวัยนี้ยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง  ขั้นที่3...Concrete  Operations (อายุ 7 - 11 ปี) พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้แตกต่างกันกับเด็กในขั้น  Preperational มาก   เด็กวัยนี้จะสามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งกฎเกณฑ์ในการ  แบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ คือ  เด็กจะสามารถที่จะอ้างอิงด้วยเหตุผลและไม่ขึ้นกับการรับรู้จากรูปร่างเท่า  นั้นเด็กวัยนี้สามารถแบ่งกลุ่ม โดยใช้เกณฑ์หลายๆอย่าง และคิดย้อนกลับ  (Reversibility) ได้  ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมและ ความสัมพันธืของตัวเลขก็เพิ่มมากขึ้น
 
ขั้นที่4...Formal Operations  (อายุ 12 ปีขึ้นไป)  ในขั้นนี้พัฒนาการเชาวน์ปัญญาและความคิดเห็นของเด็กเป็นขั้นสุดยอดคือ  เด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดเป็นผู้ใหญ่  ความคิดแบบเด็กสิ้นสุดลง  เด็กสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่  สามารถที่จะคิดเป็นนักวิทยาศาสตร์   สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎีและเห็นว่าความจริงที่เห็นด้วยกับการรับ  รู้ไม่สำคัญเท่ากับการคิดถึงสิ่งที่อาจเป็นไปได้ (Possibility)เพียเจต์ได้สรุปว่า"เด็กวัยนี้เป็นผู้ที่คิดเหนือไป  กว่าสิ่งปัจจุบันสนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับ ทุกสิ่งทุกอย่าง  และมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับกับสิ่งที่ไม่มีตัวตนหรือสิ่งที่เป็นนามธรรม


 

vdoออซูเบล

 
 
 
 
 
 
1. ออซูเบล (Ausubel , David 1963)                                                                                                       
 
 
 
ทฤษฎีของออซูเบลเป็นทฤษฎีที่หาหลักการอธิบายการเรียนรู้ที่เรียกว่า "Meaningful Verbal Learning" โดยเฉพาะ การเชื่อมโยงความรู้ที่ปรากฎในหนังสือที่โรงเรียนใช้กับความรู้เดิมที่อยู่ในสมองของผู้เรียน ในโครงสร้างสติปัญญา(Cognitive Structure) หรือการสอนโดยวิธีการให้ข้อมูลข่าวสาร ด้วยถ้อยคำทฤษฎีของออซูเบล เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างมีความเข้าใจทฤษฎีของออซูเบลบางครั้งเรียกว่า "Subsumption Theory"

  
2. ทฤษฎีกลุ่มพุทธิปัญญา (Cognitivism)


ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 นักทฤษฎีการเรียนรู้เริ่มตระหนักว่า การที่จะเข้าถึงการเรียนรู้ได้อย่างสมบูรณ์นั้น จะต้องผ่านการพิจารณา ไตร่ตรอง การคิด (Thinking) เช่นเดียวกับพฤติกรรม และควรเริ่มสร้างแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ในทรรศนะของ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการคิด(Mental change) มากกว่าการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ดังนั้นจึงมี การเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากความสนใจเกี่ยวกับสิ่งเร้ากับการตอบสนอง


3. กลุ่มพุทธิปัญญา (Cognitivism)

  
กลุ่มพุทธิปัญญา ให้ความสนใจเกี่ยวกับกระบวนการคิด การให้เหตุผลของผู้เรียน ซึ่งแตกต่างจากทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ที่มุ่งเน้นพฤติกรรมที่สังเกตได้เท่านั้น โดยมิได้สนใจกับกระบวนการคิดหรือกิจกรรมทางสติปัญญาของมนุษย์

4. การเรียนรู้อย่างมีความหมาย

คือ ผู้เรียนได้เชื่อมโยง (Subsumme) สิ่งที่จะต้องเรียนรู้ใหม่ กับความรู้เดิมที่มีมาก่อนที่มีในโครงสร้างในสติปัญญาของผู้เรียนมาแล้ว
ออซูเบลให้ความหมายการเรียนรู้อย่างมีความหมาย( Mearningful learning) ว่า เป็นการเรียนที่ผู้เรียนได้รับมาจากการที่ผู้สอน อธิบายสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ให้ทราบและผู้เรียนรับฟังด้วยความเข้าใจ โดยผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับโครงสร้างพุทธิปัญญาที่ได้เก็บไว้ในความทรงจำ และจะสามารถนำมาใช้ในอนาคต ออซูเบลได้ชี้ให้เห็นว่าทฤษฎีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะอธิบายเกี่ยวกับพุทธิปัญญา
 
5. ประเภทของการเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย

1. Subordinate learning
1.1 Deriveration Subsumption
เป็นการเชื่อมโยงสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ใหม่กับหลักการหรือกฎเกณฑ์ที่เคยเรียนมาแล้ว โดยการได้รับข้อมูลมาเพิ่ม เช่น มีคนบอก
1.2 Correlative subsumption
เป็นการเรียนรู้ที่มีความหมายเกิดจากการขยายความ หรือปรับโครงสร้างทางสติปัญญาที่มีมาก่อนให้สัมพันธ์กับสิ่งที่จะเรียนรู้ใหม่
2. Superordinate learning
เป็นการเรียนรู้โดยการอนุมาน โดยการจัดกลุ่มสิ่งที่เรียนใหม่เข้ากับความคิดรวบยอดที่กว้างและครอบคลุมความคิดยอดของสิ่งที่เรียนใหม่
3. Combinatorial learning
เป็นการเรียนรู้หลักการ กฎเกณฑ์ต่างๆเชิงผสม ในวิชาคณิตศาสตร์ หรือ วิทยาศาสตร์ โดยการใช้เหตุผล หรือการสังเกต

6. เทคนิคการสอน

ออซูเบลได้เสนอแนะเกี่ยวกับ Advance organizer เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมายจากการสอนหรือบรรยายของครู โดยการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างความรู้ที่มีมาก่อนกับข้อมูลใหม่ หรือความคิดรวบยอดใหม่ ที่จะต้องเรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายที่ไม่ต้องท่องจำ หลักการทั่วไปที่นำมาใช้ คือ
- การจัด เรียบเรียง ข้อมูลข่าวสารที่ต้องการให้เรียนรู้ ออกเป็นหมวดหมู่
- นำเสนอกรอบ หลักการกว้างๆ ก่อนที่จะให้เรียนรู้ในเรื่องใหม่
- แบ่งบทเรียนเป็นหัวข้อที่สำคัญ และบอกให้ทราบเกี่ยวกับหัวข้อสำคัญ


7. สรุปได้ว่า การเรียนรู้อย่างมีความหมาย (Mearningful learning)
 
ออซูเบล เป็นทฤษฎีกลุ่มพุทธิปัญญา เน้นความสำคัญของผู้เรียน ออซูเบลจะสนับสนุนทั้ง Discovery และ Expository technique ซึ่งเป็นการสอนที่ครูให้หลักเกณฑ์ และผลลัพธ์ ออซูเบลมีความเห็นว่าสำหรับเด็กโต (อายุเกิน11หรือ 12 ปี)นั้น การจัดการเรียนการสอนแบบ Expository technique น่าจะเหมาะสมกว่าเพราะเด็กวัยนี้สามารถเข้าใจเรื่องราว คำอธิบายต่างๆได้

vdoบันดูรา

 
 
 
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม

             ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมนี้ เป็นแนวคิดของ แบนดูรา (Bandara 1977: 16 อ้างถึงใน ภัทรธิรา ผลงาม. 2544 หน้า 28) ซึ่งมีความเชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์ นอกเหนือจากปฏิกิริยาสะท้อนเบื้องต้นแล้ว เกิดจากการเรียนรู้ทั้งสิ้น และการเรียนรู้พฤติกรรมใหม่เหล่านั้นสามารถเรียนรู้ได้โดยประสบการณ์ตรงหรือไม่ก็โดยการสังเกต องค์ประกอบทางชีววิทยามีบทบาทสำคัญในกระบวนการเรียนรู้โดยพฤติกรรม นั้นก็ คือองค์ประกอบในตัวบุคคลมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้พฤติกรรม ในการอธิบายกระบวนการเกิดพฤติกรรมของมนุษย์
แบนคูรา ได้อธิบายรูปของการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่องระหว่างพฤติกรรม องค์ประกอบส่วนบุคคลและองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม โดยที่องค์ประกอบทั้ง 3 นี้จะมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน.
พฤติกรรมองค์ประกอบส่วน บุคคลและองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม มีอิทธิพลซึ่งกันและกัน กล่าวคือ พฤติกรรมของมนุษย์สามารถกำหนดสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมก็สามารถกำหนด พฤติกรรม พฤติกรรมสามารถกำหนดองค์ประกอบส่วนบุคคล องค์ประกอบส่วนบุคคลก็สามารถกำหนดพฤติกรรมได้เช่นกัน ในทำนองเดียวกัน องค์ประกอบทาง สิ่งแวดล้อมและองค์ประกอบส่วนบุคคลก็มีอิทธิพลซึ่งกันและกัน
แบนดูรา ได้กล่าวถึงตัวกำหนดพฤติกรรมว่า มี 2 ประการ คือ ตัวกำหนดพฤติกรรมที่เป็นสิ่งเร้า ซึ่งได้แก่เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมการเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆในสิ่งแวดล้อมซ้ำ ๆ มนุษย์จะคาดการณ์ไว้ว่า ถ้ามีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นจะมีเหตุการณ์อะไรตามมาและตัวกำหนดพฤติกรรมอีกประการหนึ่ง คือ ตัวกำหนดที่เป็นผล ซึ่งได้แก่ผลของการกระทำมนุษย์จะเลือกกระทำพฤติกรรมที่ ได้รับผลทางบวก และจะหลีกการกระทำพฤติกรรมที่จะได้รับผลทางลบ
วิธีการเรียนรู้พฤติกรรมของมนุษย์ แบนลูราได้กล่าวว่า วิธีการเรียนรู้พฤติกรรมของมนุษย์มี 2 วิธี คือ การเรียนจากผลของการกระทำ และวิธีการเรียนรู้จากการเลียนแบบ โดยที่การเรียนรู้จากผลของการกระทำเป็นการ เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ซึ่งจะทำหน้าที่ 3 ประการ คือให้ข้อมูล จูงใจ และ เสริมแรง ส่วนการเรียนรู้จากการเลียนแบบเป็นการเรียนรู้จากการสังเกตตัวแบบกระทำ พฤติกรรม ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ทางอ้อม การเรียนรู้จากตัวแบบอาศัย กระบวนการเรียนรู้จากการสังเกตเป็นผลสำคัญ ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ กระบวนการใส่ใจกระบวนการเก็บจำ กระบวนการทางกาย และ กระบวนการจูงใจ
นอกจากนี้ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมแบนดูรา ยังได้กล่าวถึงการควบคุมพฤติกรรมด้วยปัญญาไว้ว่า การเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่าง พฤติกรรมและผลของการกระทำจะอยู่ในรูปของความเชื่อและความคาดหวัง ซึ่งเป็น กระบวนการทางปัญญา ความเชื่อและความหวังนี้จะทำหน้าที่ควบคุมหรือกำกับการ กระทำของมนุษย์ในเวลาต่อมา การควบคุมพฤติกรรมด้วยปัญญาที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง 3 ประการ คือ ความเชื่อเกี่ยวกับกฎเกณฑ์เงื่อนไข การคาดหวังเกี่ยวกับความสามารถ ของตนเองและผลที่จะเกิดขึ้นและสิ่งจูงใจ
ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้แนวคิดของแบนดูรา เพื่อเป็นพื้นฐาน ในการกำหนดตัวแปรเกรดเฉลี่ย จากแนวคิดว่า สติปัญญาเป็นตัวควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์

vdoธอร์นไดค์


vdoฮาวิกเฮิร์ส

ทฤษฏีทฤษฏีพัฒนาการ Havighurst
  • ทฤษฎีพัฒนาการของ Havighurst ( Devolopment Talks )
ศาสตราจารย์โรเบิร์ต ฮาวิกเฮิร์ส (Robert Havighurst ) ให้ความหมายว่า งานพัฒนาการ หมายถึง งานที่มนุษย์ทุกคนต้องทำในแต่ละวัยของชีวิต สัมฤทธิ์ผลของงานพัฒนาการแต่ละวัย มีความสำคัญมากเพราะเป็นรากฐานของการเรียนรู้งานพัฒนาขั้นต่อไป
ฮาวิกเฮิร์ส ได้แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ไว้เป็น 6 ช่วงอายุ คือ
  1. วัยทารกและวัยเด็กเล็ก
  2. วัยเด็กตอนกลาง
  3. วัยรุ่น
  4. วัยผู้ใหญ่ตอนต้น
  5. วันผู้ใหญ่ตอนกลาง
  6. วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย
  • หลักพัฒนาการตามแนวคิดทฤษฎีนั้นเป็นอย่างไร
สามารถที่จะแสดงบทบาททางสังคมได้เหมาะกับตัวเอง เลือกและเตรียมตัวที่จะเลือกอาชีพในอนาคต พัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญาและความคิดรวบยอดต่างๆที่จำเป็นสำหรับสมาชิกของชุมชนที่มีสมรรถภาพ
  • การนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้
หลักสูตรสำหรับเด็กในระยะเริ่มแรกควรมุ่งสร้างความคิดรวบยอด โดยให้เด็กได้พบประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด เพื่อให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดจากสภาพที่เป็นจริง หลังจากนั้นจึงค่อยสร้างความคิดรวบยอดให้สิ่งที่เป็นนามธรรมต่อไปในภายหลัง เช่น ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเวลา โอกาส อำนาจรัฐบาล เป็นต้น
ในสังคมไทยเป็นสังคมที่ตระหนักในคุณค่าของกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมเป็นอันมาก ดังนั้นโรงงเรียนจึงมีบทบาทมากในการศึกษาอบรมและพัฒนาความรู้สึกผิดชอบชั่วดีและให้รู้กฎเกณฑ์ของการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข การดำเนินการของโรงเรียนอาจจะทำได้ในลักษณะต่อไปนี้
  1. โดยการสอนศีลธรรม จรรยามารยาท
  2. โดยการให้รางวัลในกรณีที่ทำความดีความชอบ และทำโทษกรณีที่ทำความผิด
  3. โดยการให้ผู้สอนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
  4. โดยการให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการอยู่ร่วมกันกับเพื่อน

  • ทักษะทางปัญญา
-พัฒนาความสามารถในการรู้จักเข้าใจตนเองและผู้อื่น การสื่อสาร การคิดวิเคราะห์
-ทราบถึงทฤษฎีพัฒนาการของนักจิตวิทยาทั้งหกท่าน

  • ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
-พัฒนาทักษะการรู้จักเข้าใจตนเองและผู้อื่น
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่มากขึ้น
-พัฒนาทักษะการรู้จักเข้าใจตนเองในเรื่องพัฒนาการต่างๆ
-มีความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน

  • ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
-พัฒนาการวิเคราะห์และการสรุปเนื้อหาทั้งในและนอกบทเรียน
- พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การหาข้อมูลเกี่ยวกับนักจิตวิทยาจากอินเตอร์เน็ต

  • การนำไปประยุกต์ใช้
-เราสามารถที่จะสังเกตการเจริญเติบโตและพัฒนาการของคนรอบข้างค่ะ
-เราสามารถที่จะรู้ว่าการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเราตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่นั้นเป็นอย่างไร

  • ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
-อยากให้มีสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย
-อยากให้มีตัวอย่างที่เห็นรูปภาพเพื่อที่ให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น

vdoอิริคสัน

 
 
ทฤษฎีพัฒนาการของ อิริคสัน (Erikson)
อิริคสัน ค.ศ.1902 เป็นนักจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อของอเมริกา และจัดอยู่ในกลุ่มฟรอยด์รุ่นใหม่
เกิดที่เมืองแฟรงเฟิต ประเทศเยอรมัน ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ประเทศอเมริกาในปี ค.ศ. 1933 และเป็นผู้วิเคราะห์เกี่ยวกับเด็กเป็นคนแรกในนครบอสตัน เห็นว่าการจะทำความเข้าใจพฤติกรรมเด็กจะต้องศึกษาจากการอบรมเลี้ยงดู สภาพสังคม และความเป็นอยู่ของเด็ก ปัญหาที่นำมาวิเคราะห์นั้นจะอธิบายเชื่อมโยงระหว่างจิตวิทยากับสังคมวิทยาในรูปแบบของมนุยวิทยา ซึ่งมีแนวความคิดว่ามนุษย์ต้องพึ่งสังคมและสังคมก็ต้องพึ่งมนุษย์ มนุษย์มีวิวัฒนาการที่สลับซับซ้อนและผ่านขั้นตอนต่างๆของธรรมชาติหลายขั้นตอน
พัฒนาการทางบุคลิกภาพ 8 ขั้นตอนของอิริคสัน
1. ความไว้วางใจกับความไม่ไว้วางใจ (Trust VS. Mistrust) (ในช่วง0 -1 ปี) ถ้าเด็กได้รับความรักใคร่ที่เหมาะสม ทำให้เขารู้สึกว่าโลกนี้ปลอดภัย น่าอยู่และไว้วางใจได้ แต่ถ้าตรงกับข้ามเด็กก็จะรู้สึกว่าโลกนี้เต็มไปด้วยอันตรายไม่มีความปลอดภัย มีแต่ความหวาดระแวง
2. ความเป็นตัวของตัวเองกับความคลางแคลงใจ (Autonomy VS. Doubt)(ในช่วง2 – 3 ปี) เด็กในวัยนี้จะเริ่มพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง รู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญและอยากเอาชนะสิ่งแวดล้อมหรืออำนาจที่มีอยู่ พ่อแม่จึงควรระวังในเรื่องความสมดุลในการเลี้ยงดู ควรให้โอกาสและกำลังใจต่อเด็ก เด็กจะพัฒนาความเป็นตัวเอง มีความมั่นใจ รู้จักอิสระที่จะควบคุมตนเอง แต่ถ้าพ่อแม่ไม่ให้โอกาสหรือทำแทนเด็กทุกอย่าง เด็กจะเกิดความคลางแคลงใจในความสามารถของตนเอง
3. ความริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiative VS. Guilt) (ในช่วง4 – 5 ปี) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดถึงการใช้ภาษาจะช่วยให้เด็กเกิดแง่คิดในการวางแผนและการริเริ่มทำกิจกรรมต่างๆ ก็จะเป็นการส่งเสริมทำให้เขารู้สึกต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าต่อไปเด็กก็จะมีความคิดริเริ่ม แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าผู้ใหญ่คอยเข้มงวด ไม่เปิดโอกาสให้เด็ก ตำหนิอยู่ตลอดเวลา เขาก็จะรู้สึกผิดเมื่อคิดจะทำสิ่งใดๆ นอกจากนี้เขาก็จะเริ่มเรียนรู้บทบาททางเพศมาตรฐานทางศีลธรรมและการควบคุมอารมณ์
4. ความขยันหมั่นเพียรกับความรู้สึกต่ำต้อย (Industry VS. Inferiority) (ในช่วง6 – 12 ปี) เด็กในวัยนี้จะเริ่มเข้าเรียนและต้องการเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น มีพัฒนาการทางด้านความขยันขันแข็ง โดยพยายามคิดทำ คิดผลิตสิ่งต่างๆ ให้เหมือนผู้ใหญ่ด้วยการทุ่มเททั้งกำลังกายและกำลังใจ ถ้าเขาได้รับคำชมเชยก็จะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดกำลังใจ มีความมานะพยายามมากขึ้น แต่ถ้าตรงกันข้ามเด็กไม่ได้รับความสนใจหรือผู้ใหญ่แสดงออกมาให้เขาเห็นว่าเป็นการกระทำที่น่ารำคาญเขาก็จะรู้สึกต่ำต้อย
5. ความเป็นเอกลักลักษณ์กับความสับสนในบทบาท (Identity VS. Role Confusion) (ในช่วง12 – 17 ปี) เป็นช่วงที่เด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่น และเริ่มพัฒนาเอกลักษณ์ของตนเองว่าตนคือใคร ถ้าเขาค้นหาตนเองได้ เขาจะแสดงบทบาทของตนเองได้อย่างเหมาะสม แต่ถ้าตรงกันข้ามเขาค้นหาเอกลักษณ์ของตนไม่พบเขาจะเกิดความสับสนและแสดงบทบาทที่ไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกับตนเอง
6. ความผูกพันกับการแยกตัว(Intimacy VS. Isolation) (ในช่วง18- 34 ปี) เป็นขั้นของการพัฒนาทางด้านความรัก ความผูกพัน เมื่อบุคคลสามารถค้นพบเอกลักษณ์ของตนเองได้แล้ว ก็เกิดความรู้สึกต้องการมีเพื่อนสนิทที่รู้ใจ สามารถปรับทุกข์ซึ่งกันและกันได้ ตลอดถึงแสดงความยินดี และเสียสละให้แก่กัน แต่ถ้าพัฒนาการในช่วงนี้ล้มเหลวไม่สามารถสร้างความรู้สึกเช่นนี้ได้ เขาก็จะขาดเพื่อนสนิท หรือเกิดความรู้สึกต้องการจะชิงดีชิงเด่น ชอบทะเลาะกับผู้อื่น รู้สึกว้าเหว่เหมือนถูกทอดทิ้ง ซึ่งจะนำไปสู่การแยกตัวเอง และดำเนินชีวิตอย่างโดดเดี่ยว
7. การทำประโยชน์ให้สังคมกับการคิดถึงแต่ตนเอง (Generativity VS. Self Absorption) (ในช่วง35 – 60 ปี) เป็นช่วงของวัยกลางคน ซึ่งมีความพร้อมที่จะสร้างประโยชน์ให้สังคมได้เต็มที่ ถ้าพัฒนาการแต่ละขั้นตอนที่ผ่านมาดำเนินไปด้วยดี มีการดูแลรับผิดชอบเอาใจใส่ต่อบุตรหลานให้มีความสุข มีการอบรมสั่งสอนบุตรหลานให้เป็นคนดีต่อไปในอนาคต แต่ถ้าตรงกันข้ามก็จะไม่ประสบความสำเร็จ เขาจะเกิดความรู้สึกท้อถอย เบื่อหน่ายชีวิต คิดถึงแต่ตนเองไม่รับผิดชอบต่อสังคม
8. บูรณาการกับความสิ้นหวัง (Integrity VS. Despair) (ในช่วง60 ปีขึ้นไป) เป็นช่วงของวัยชราซึ่งเป็นวัยสุดท้าย ถ้าบุคคลผ่านขั้นตอนต่าง ๆ มาด้วยดี ก็จะมองอดีตเต็มไปด้วยความสำเร็จ มีปรัชญาชีวิตตนเอง ภูมิใจในการถ่ายทอดประสบการณ์ต่างให้แก่ลูกหลาน แต่ถ้าตรงกันข้ามกันชีวิตมีแต่ความล้มเหลว ก็จะเกิดความรู้สึกสิ้นหวังในชีวิต เสียดายเวลาที่ผ่านมาไม่พอกับชีวิตในอดีตไม่ยอมรับสภาพตนเอง เกิดความคับข้องใจต่อสภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ขาดความสงบสุขในชีวิต
สรุป ทฤษฎีของอีริคสัน เป็นทฤษฎีที่อธิบายพัฒนาการของชีวิตตั้งแต่งวัยทารกจนถึงวัยชรา อีริคสันเชื่อว่า วัยแรกของชีวิตเป็นวัยที่เป็นรากฐานเบื้องต้น และวัยต่อ ๆ มาก็สร้างจากรากฐานนี้ ถ้าหากในวัยทารกเด็กได้รับการดูแลอย่างดีและอบอุ่น ก็จะช่วยให้เด็กมีความเชื่อถือในผู้อื่นที่อยู่รอบ ๆ ตั้งแต่บิดามารดา บุคคลต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเขา จะช่วยให้เด็กช่วยตนเอง มีความตั้งใจที่จะทำอะไรเอง และเมื่อเขาเติบโตขึ้นก็จะเป็นผู้ที่รู้สึกว่าตนเองมีสมรรถภาพที่จะทำอะไรได้ นอกจากนี้จะมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น สามารถที่จะยอมรับสิ่งที่ดีและไม่ดีของตนเองได้และผู้อื่นสามารถที่จะสนิทสนมกับผู้อื่น ทั้งเพศเดียวกันและเพศตรงข้ามโดยสนิทใจ โดยไม่มีความอิจฉาว่าเพื่อนจะดีกว่าตน เมื่อเป็นผู้ใหญ่ก็จะเป็นผู้เสียสละไม่เห็นแก่ตัวดูแลผู้ที่อ่อนเยาว์กว่า เช่น ลูกหลาน หรือคนรุ่นหลังต่อไป และเมื่ออยู่ในวัยชราก็จะมีความสุข เพราะว่าได้ทำประโยชน์และหน้าที่มาอย่างเต็มที่แล้ว อีริคสสันถือว่าชีวิตของคนเรา แต่ละวัยจะมีปัญหา บางคนก็สามารถแก้ปัญหาด้วยตนเอง และดำเนินชีวิตไปตามขั้น แต่บางคนก็แก้ปัญหาเองไม่ได้ อาจจะต้องไปพบจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยาช่วยเพื่อแก้ปัญหา แต่บุคลิกภาพของแต่ละบุคคลเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และทุกคนมีโอกาสที่จะแก้ไขบุคลิกภาพของตน และผู้ใหญ่ที่อยู่แวดล้อมก็มีส่วนที่จะช่วยส่งเสริมหรือแก้ไขบุคลิกภาพของผู้เยาว์ที่อยู่ในความดูแลให้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข