วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

vdo เกสตัลท์

  เกสตัลท์ (Gestalt Therapy) เขาเกิดในเยอรมันเมื่อปี ค.ศ. 1893 ได้รับปริญญาแพทย์ศาสตร์ในปี ค.ศ.1920 และได้ประสบการณ์เกี่ยวกับจิตเวชในเบอร์ลิน โดยใช้วิธีจิตวิเคราะห์ในการบำบัดรักษาคนไข้ หลังจากนั้นฟิลส์ได้อพยพครอบครัวมาอยู่ที่แอฟริกาใต้ และได้เริ่มคิดวิธีการอื่นในการบำบัดรักษาคนไข้โรคจิต โรคประสาท ต่อมาในปี ค.ศ. 1946 เขาย้ายมาอยู่ในอเมริกาและในช่วงนั้นเฟิลส์ได้นำวิธีการแบบเกสตัลท์มาใช้ในการบำบัดรักษาคนไข้ จนกระทั่งถึงแก่กรรมในปี ค. ศ. 1970
เขาได้แต่งตำราไว้หลายเล่ม อาทิ เช่น
    “Gestalt Therapy  : Excitement and Growth in the Human Personality” (Perls ,Hefferline and Goodman, ค.ศ. 1951)
     “Gestalt Therapy Verbatim” (Perls, ค.ศ. 1969)
                 แม้ว่าเฟิลส์จะมีแนวความคิดเกี่ยวกับการบำบัดแบบเกสตัลท์มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1947 ก็ตามแต่วิธีการนี้เพิ่งแพร่หลายมากในปัจจุบัน มีหนังสือต่างๆ เกี่ยวกับจิตบำบัด แบบเกสตัลท์ และวิธีให้บริการปรึกษาแบบเกสตัลท์หลายเล่ม กับทั้งมีผู้นำทฤษฎีนี้ไปใช้ในการให้บริการให้บริการปรึกษา
                กล่าวโดยสรุป คือ ทฤษฎีการให้การปรึกษาเชิงบำบัดแนวเกสตัลท์  เป็นการบำบัดทางประสบการณ์ ซึ่งส่วนใหญ่เน้นที่การมีสติหรือการตระหนักรู้ ถึงความรู้สึกของตนเองที่เกิดขึ้นในขณะนั้น และการทำงานของกายกับใจที่ควบคู่กันไป กล่าวคือเป็นการทำงานของความคิด ความรู้สึก และการรับรู้ ที่รวมกันเป็นกระแสธาร ลักษณะของจิตบำบัดแนวเกสตัลท์จึงเป็นแบบ Holistic Approach ซึ่ง Perls เชื่อว่าจะทำให้เกิดบูรณาการได้มากกว่าที่จะแยกออกมาวิเคราะห์เป็นบางส่วน
การพิจารณามนุษย์ตามแนวคิดของทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบจิตวิทยาเกสตัลท์
          จิตวิทยาเกสตัลท์มีแนวความคิดเกี่ยวกับการพิจารณามนุษย์ดังนี้คือ
  1.   มนุษย์เป็นอิสระจากอดีต เขาอยู่ในปัจจุบันมนุษย์ไม่สามารถจัดการกับอดีตและอนาคตได้อย่างแน่นอน แต่บุคคลสามารถดำเนินการกับปัจจุบันได้แน่นอนกว่า
มีคำกล่าวเกี่ยวกับแนวความคิดของเกสตัลท์ว่า
“จงอยู่กับปัจจุบัน อย่าอยู่กับอดีต และอย่าเลื่อยลอยไปกับอนาคต”
  1.   ทฤษฎีมีความเชื่อเหมือนทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบบุคคลเป็นศูนย์กลางและทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบภวนิยม ที่ว่ามนุษย์มีความสามารถที่จะปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมและดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพสามารถแก้ปัญหาและตัดสินใจได้ด้วยตัวเองและมีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง
  2.   มนุษย์พยายามพัฒนาตนเองแต่มีความหมายแตกต่างจากการพัฒนาตัวเองของทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบผู้รับบริการแบบศูนย์กลาง ซึ่งเน้นให้ผู้รับบริการพัฒนาตนเองในอนาคต แต่แนวคิดของการให้บริการปรึกษาแบบเกสตัลท์เน้นให้ผู้รับบริการพัฒนาตนเองในปัจจุบัน
  3.   มนุษย์สามารถจัดระบบชีวิต และแก้ปัญหาของตนเองได้ (Self regulation) เมื่อเกิดอารมณ์เครียดหรือเกิดความต้องการด้านต่างๆ ขึ้น มนุษย์จะพยายามทำให้เกิดความสมดุล เช่น พยายามลดความเครียดลง หรือพยายามกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จะสนองความต้องการ แต่ถ้ามนุษย์มัวแต่รำพึงรำพันถึงอดีตหรือแสวงหาอนาคตโดยไม่นึกถึงภาวะปัจจุบัน เขาก็จะไม่สามารถจัดระเบียบหรือลดความเครียดด้านจิตลงได้
  4.   การที่มนุษย์ตระหนักรู้ (Awareness) ในความต้องการของตน จะช่วยให้มนุษย์หาทางตอบสนองความต้องการ แต่ถ้าพยายามหลีกเลี่ยงไม่นึกถึงความต้องการนั้น จะใช้พลังงานไปในการเก็บกดความต้องการซึ่งจะทำให้เครียดหนักขึ้นและไม่สามารถตอบสนองความต้องการใดๆ ได้
  5.   บุคคลประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สัมพันธ์กันทั้งร่างกาย อารมณ์ ความคิด ความรู้สึกและการรับรู้ เป็นการผสมผสานกัน(integration)เป็นการแสดงออกอย่างคนที่เป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง
  6.   มนุษย์เกิดมาโดยไม่ได้มีความดีและความชั่วติดตัวมาด้วย
  7.   มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม เขาต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การที่จะเข้าใจบุคคลจะต้องเข้าใจสิ่งแวดล้อมของเขาด้วย
  8.   บุคคลมีเสรีภาพที่จะเลือกตอบสนองต่อสิ่งเร้า
  9. การตระหนักต่อความรู้สึก ความคิด อารมณ์และการรับรู้ของตนในสภาพการณ์ต่างๆ ช่วยให้บุคคลสามารถตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม
หลักการของจิตวิทยาเกสตัลท์ที่นำมาให้บริการปรึกษา
               จิตวิทยาเกสตัลท์เกิดขึ้นในประเทศเยอรมัน ตอนต้นศตวรรษที่ 20 ผู้นำแนวคิดของจิตวิทยาเกสตอลท์คือ เคิท คอฟกา (Kurt Koffka) วูฟแกง เคอเลอร์ (Wolfgang Koehler และแมค เวอร์ไทเมอร์ (Max Wertheimer)
             หลักการของจิตวิทยาเกสตัลท์ที่นำมาใช้ให้บริการปรึกษา(Behaviorism) คือพฤติกรรมนิยมเน้นหน่วยย่อยของพฤติกรรมตอบสนอง ซึ่งนักจิตวิทยาเกตตัลท์เห็นว่าจะทำให้เกิดข้อจำกัดมากเกินไป โดยมีแนวความคิดว่ามนุษย์จะรวบรวมสิ่งเร้าทั้งหลายและประมวลเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นการรัยรู้ที่มีความหมายทั้งหมดของบุคคล (the whole) สิ่งเร้าต่างๆ จะมีความหมายก็ต่อเมื่อบุคคลจัดระบบสิ่งเหล่านี้เข้าด้วยกันและประมวลกันเข้าเป็นการรับรู้ของเขา
              เฟิลส์ได้นำหลักการของจิตวิทยาเกสตัลท์ที่ว่า มนุษย์จะรับรู้สิ่งเร้าต่างๆ โดยนำสิ่งเร้านั้นมาสัมพันธ์กันเป็นสิ่งที่มีความหมาย (closure) นั่นก็คือ มนุษย์พยายามที่จะประติดประต่อสิ่งต่างๆ ให้มีความหมายในการรับรู้ของเขา และมีความต้องการจะแก้ปัญหาที่ติดค้างอยู่ในใจ (unfinished business) ให้สำเร็จลุล่วงลงนอกจากนั้นเฟิลส์ได้ตีความของคำว่า “การรับรู้” ว่าคือการรวมการรับรู้ของบุคคลที่มีต่อประสบการณ์ อารมณ์และการรับสัมผัสของเขาเข้าด้วยกัน
             การรับรู้ของบุคคลในสิ่งที่เขาให้ความสนใจและตระหนักจะเปรียบเทียบเป็นภาพ(figure) และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เปรียบได้กับพื้น(ground) มนุษย์ไม่ได้ตอบสนองต่อทุกๆ สิ่งเร้า การที่บุคคลจะตอบสนองขึ้นอยู่กับการที่เขาตระหนักหรือให้ความสนใจต่อสิ่งเร้า ตัวอย่างเช่น “ขณะที่ฉันนั่งลงเขียนหนังสือ ฉันตระหนักถึงสิ่งต่างๆ อย่างไม่เด่นชัดนัก เช่นเก้าอี้ที่ฉันนั่ง ปากกาที่ฉันถือ ห้องที่ฉันอยู่ สิ่งที่ฉันตระหนักมากที่สุดคือ การรวบรวมความคิดของฉันและเขียนลงบนกระดาษ ขณะที่ฉันเหนื่อยและเมื่อยฉันตระหนักหรือให้ความสนใจต่อความปวดเมื่อยตามร่างการและรู้สึกถึงรสชาติกาแฟที่ดื่ม กาแฟช่วยให้ฉันสดชื่นขึ้น แต่ในที่ฉันตระหนักต่อการเขียนหนังสือ รสชาติของกาแฟจะเป็นเรื่องรองลงมา” จะเห็นได้ว่าจิตวิทยาเกสตัลท์เน้นการรับรู้ของบุคคลที่มีต่อประสบการณ์ อารมณ์ และการรับสัมผัสของเขา สิ่งที่เขารับรู้หรือให้ความสนใจในขณะนั้นเปรียบเหมือนภาพ(figure) ส่วนสิ่งเร้าอื่นๆ เปรียบเหมือนพื้น (ground) ซึ่งภาพและพื้นนั้นอาจเปลี่ยนกลับไปกลับมาได้ เช่น เปลี่ยนความสนใจหรือความตระหนักกลับไปกลับมาระหว่างการเขียนหนังสือกับรสชาติของกาแฟ
             หลักการของการให้บริการปรึกษาแบบเกสตัลท์เน้น  ปัจจุบัน  เพราะอดีตก็จากเราไปแล้ว  และ อนาคต เป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง การคิดถึงแต่อดีตเป็นการหนีการคิดดำเนินการกับปัจจุบัน หรือหนีการเผชิญปัญหาในปัจจุบัน  และการที่บุคคลครุ่นคิดถึงแต่อนาคตจะก่อให้เกิดความวิตกกังวล  ดังนั้นปัจจุบันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรเน้น แต่คนส่วนใหญ่คิดถึงปัจจุบันแต่เพียงชั่วครู่ชั่วขณะเท่านั้น  ฉะนั้นผู้ให้บริการปรึกษาควรพยายามให้ผู้รับบริการตระหนักในปัจจุบันมากกว่าที่จะคิดถึงประสบการณ์
ความเชื่อของการบำบัดแนวเกสตัลท์ พอสรุปได้ดังนี้
                      1. มนุษย์มีลักษณะเป็นหน่วยที่มีความสมบูรณ์อยู่ในตนเอง ร่างกาย อารมณ์ ความคิด ประสาทสัมผัสและการรับรู้ มีการทำงานที่สัมพันธ์กัน มนุษย์จึงมีลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การเข้าใจมนุษย์นั้นจะเข้าใจเฉพาะในแต่ละส่วนไม่ได้ จำเป็นต้องเข้าใจลักษณะของหน่วยเต็มทั้งหน่วย คือบุคคล
                      2. มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม การที่จะเข้าใจมนุษย์ให้ลึกซึ้งจำเป็นต้องเข้าใจทั้งบุคคล และสภาพแวดล้อมของเขา
                      3. มนุษย์เป็นผู้เลือกที่จะแสดงพฤติกรรมของตนเองในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก และภายใน
                      4. มนุษย์มีความสามารถที่จะรับรู้หรือสัมผัสถึงความคิด อารมณ์ และการรับรู้ของตนเอง
                      5. มนุษย์มีประสิทธิภาพในการรับรู้ถึงตนเอง มีสติ (Self Awareness) จึงทำให้มนุษย์มีความสามารถในการตัดสินใจเลือก พร้อมทั้งมีความรับผิดชอบต่อพฤติกรรมของเขา
                     6. มนุษย์มีความสามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                      7. มนุษย์ไม่สามารถนำตนเองไปเผชิญกับอดีตหรืออนาคตได้ เขาสามารถเผชิญเหตุการณ์ด้วยตนเองได้กับปัจจุบันเท่านั้น นั้นคือ คนเราสามารถรับรู้ถึงประสบการณ์ส่วนตนจากปัจจุบันเท่านั้น อดีตหรืออนาคตสามารถรับรู้ได้จากปัจจุบัน โดยการจำหรือการคิดคาดหวัง
8. โดยพื้นฐานของธรรมชาติแล้ว มนุษย์เราไม่ดีหรือไม่เลวโดยกำเนิด

แนวคิดกับสภาวะปัจจุบัน (The Now)
                    สำหรับ Perls แล้ว การมีชีวิตอยู่ก็คือ “ปัจจุบัน” อดีตนั้นเป็นสิ่งที่ผ่านไปแล้ว และอนาคตก็ยังเป็นเรื่องที่มาไม่ถึง มีแต่ปัจจุบันเท่านั้นที่มีความหมายสำคัญ สิ่งที่ Perls เน้นมากที่สุดก็คือ ที่นี่และและเดี๋ยวนี้ (Here and Now) Perls เชื่อว่าพลังของคนเรามีอยู่กับปัจจุบัน การจะดำรงชีวิตอยู่กับปัจจุบัน ก็จะต้องอยู่อย่างมีคุณภาพ และตรงตามสภาพความเป็นจริงของชีวิต บุคคลที่ไม่สามารถรับรู้ถึงสภาวะปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็เนื่องจากการสูญเสียพลังงานที่ใช้ไปกับการครุ่นคิดคำนึงถึงสิ่งที่ผ่านมาในอดีต และมุ่งมั่นจะวางแผนในอนาคตอย่างไม่รู้จบ บุคคลนั้นก็จะเกิดความวิตกกังวลขึ้นมา
                      สำหรับสภาพของผู้มีทุกข์ Perls เชื่อว่ามักจะเป็นบุคคลที่ขาดการตระหนักรู้ กล่าวคือไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรที่จะสามารถดำรงชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพกล่าวคือมีชีวิตอยู่เพียงแค่ให้หมดสิ้นไปวันหนึ่งเท่านั้น รู้สึกช่วยเหลือตนเองไม่ได้ สิ้นหวังในชีวิต ไม่รู้จะจัดการกับตนเองอย่างไร ขาดความรับผิดชอบต่อตนเอง เป็นบุคคลที่มีธุรกิจคั่งค้างอยู่ในตัวอย่างมาก และหาทางออกโดยการหนีจากสภาวะปัจจุบันไปอยู่กับอดีตและอนาคต
จุดมุ่งหมายของการให้การปรึกษาแบบเกสตัลท์
                   1. ให้ผู้รับการปรึกษาเปลี่ยนพฤติกรรมจากการพึ่งพาผู้อื่น มาสู่การพึ่งพาตนเอง รับผิดชอบต่อตนเองพัฒนาไปสู่การมีวุฒิภาวะ
                    2. ให้ผู้รับการปรึกษามีประสบการณ์เกี่ยวกับการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง สามารถใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่
                    3. ช่วยให้ผู้รับการปรึกษาได้ใช้พลังงานของชีวิตอยู่กับปัจจุบัน รู้จักปล่อยวางอดีต โดยการทำความรู้สึกที่คั่งค้างให้สมบูรณ์ และไม่วิตกเกี่ยวกับอนาคต
                    4. ช่วยให้ผู้รับการปรึกษากล้าเป็นตัวของตัวเองที่แตกต่างไปจากบุคคลอื่น เข้าใจในค่านิยมและกฏเกณฑ์ของสังคม
บทบาทของผู้ให้บริการปรึกษาแบบเกสตัลท์
                    1. ผู้ให้บริการปรึกษาจะไม่ทำตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญที่จะตีความหมาย ประสบการณ์ของผู้รับบริการหรือคาดคะเนอนาคตให้ผู้รับบริการ
                    2. . ผู้ให้บริการปรึกษาจะต้องช่วยให้ผู้รับบริการเกิดความกระตือรือร้น มีความรับผิดชอบ และพร้อมที่จะพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่
                    3. . ผู้ให้บริการปรึกษาจะเปิดโอการให้ผู้รับบริการได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการให้บริการปรึกษาให้มากที่สุด
                    4. . ผู้ให้บริการปรึกษาจะสังเกตความไม่สอดคล้องกันระหว่างคำพูดกับอารมณ์ของผู้รับบริการ  แล้วป้อนกลับไปให้ผู้รับบริการได้ตระหนักถึงพฤติกรรมและอารมณ์ของเขาในขณะนั้น 
เพียเจต์เชื่อว่าคนเราทุกคนตั้งแต่เกิดมา  พร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและโดยธรรมชาติของมนุษย์เป็นผู้พร้อม ที่  จะมีกริยากรรมหรือเริ่มกระทำก่อน (Active)  นอกจากนี้เพียเจต์ถือว่ามนุษย์เรามีแนวโน้มพื้นฐานที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด 2 ชนิด  คือ การจัดและรวบรวม(Oganization) และ การปรับตัว (Adaptation)  ซึ่งอธิบายดังต่อไปนี้   

การจัดและรวบรวม (Oganization)   หมายถึง การจัดและรวบรวมกระบวนการต่างๆภายใน  เข้าเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง เป็นระเบียบ  แและมีการปรับปรุงเปลียนแปลงอยู่ตลอดเวลาตราบที่ ยังมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม   
 
การปรับตัว (Adaptation)               หมายถึง  การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมเพื่ออยู่ในสภาพสมดุล  การปรับตัวประกอบด้วยกระบวนการ 2 อย่าง คือ                                  
  1. การซึมซาบหรือดูดซึม (Assimilation)                       เมื่อ  มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึมซาบหรือดูดซึมประสบการณ์ใหม่  ให้รวมเข้าอยู่ในโครงสร้างของสติปัญญา(Cognitive Structure) โดยจะเป็นการตีความ  หรือการรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม                                
  2.การปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accomodation)                       
หมาย ถึง  การเปลี่ยนแบบโครงสร้างของเชาว์ปัญญาที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม  หรือประสบการณ์ใหม่  หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดเดิมให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมใหม่  ซึ่งเป็นความสามารถในการปรับโครงสร้างทางปัญญา
     
รากฐานทางปรัชญาของทฤษฎีมาจากความพยายามที่จะเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่  ด้วยกระบวนการที่พิสูจน์อย่างมีเหตุผล เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจาก  การไตร่ตรอง ซึ่งถือเป็นปรัชญาปฏิบัตินิยมประกอบกับหลักฐานทางจิตวิทยาการเรียนรู้ที่มี  อิทธิพลต่อแนวคิดของเพียเจต์เอง  ซึ่งเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นจาก  การปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลย์ (Equilibrium)  ระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม สรุปแล้วในพัฒนาการเชาวน์ปัญญาบุคคลต้องมีการปรับตัวซึ่งประกอบด้วยกระบวนการสำคัญ  2 อย่าง  คือ การดูดซึมหรือซึมซาบเข้าสู่โครงสร้างทางปัญญา  (Assimilation) และ การปรับโครงสร้างทางสติปัญญา  (Accomodation  เพีย เจต์ กล่าวว่า  ระหว่างระยะเวลาตั้งแต่ทารกจนถึงวัยรุ่น  คนเราจะค่อยๆสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นตามลำดับขั้น  โดยเพียเจต์ได้แบ่งลำดับขั้นของพัฒนาการเชาวน์ปัญญาของมนุษย์ ไว้ 4 ขั้น  ซึ่งเป็นขั้นพัฒนาการเชาวน์ปัญญา ดัง   
   

ขั้นที่1...Sensorimotor (แรกเกิด - 2  ขวบ)  เพียเจต์  เป็นนักจิตวิทยาคนแรกที่ได้ศึกษาระดับเชาวน์ปัญญาของเด็กวัยนี้ไว้อย่าง  ละเอียดจากการสังเกตบุตร 3 คน   โดยทำบันทึกไว้และสรุปว่าวัยนี้เป็นวัยที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม  โดยประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของอวัยวะ ต่างๆของร่างกาย                          
  ขั้นที่2...Preoperational  (อายุ18 เดือน - 7 ปี) เด็ก  ก่อนเข้าโรงเรียนและวัยอนุบาลมีระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในขั้นนี้  เด็กวัยนี้มีโครงสร้างของสติปัญญา(Structure)   ที่จะใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบๆตัว ได้  หรือ  มีพัฒนาการทางด้านภาษา เด็กวัยนี้จะเริ่มด้วยการพูดเป็นประโยคและเรียนรู้คำต่างๆเพิ่มขึ้น  เด็กจะได้รู้จักคิด อย่างไรก็ตาม  ความคิดของของเด็กวัยนี้ยังมีข้อจำกัดหลายอย่างเด็กก่อนเข้าโรงเรียนและวัย อนุบาล  มีระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในขั้นนี้ เด็กวัยนี้มีโครงสร้างของสติปัญญา(Structure)  ที่จะใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบๆตัวได้  หรือมีพัฒนาการทางด้านภาษาเด็กวัยนี้จะเริ่มด้วยการ พูดเป็นประโยคและเรียนรู้คำต่างๆเพิ่มขึ้นเด็กจะได้รู้จักคิด  อย่างไรก็ตามความคิดของของเด็กวัยนี้ยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง  ขั้นที่3...Concrete  Operations (อายุ 7 - 11 ปี) พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้แตกต่างกันกับเด็กในขั้น  Preperational มาก   เด็กวัยนี้จะสามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งกฎเกณฑ์ในการ  แบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ คือ  เด็กจะสามารถที่จะอ้างอิงด้วยเหตุผลและไม่ขึ้นกับการรับรู้จากรูปร่างเท่า  นั้นเด็กวัยนี้สามารถแบ่งกลุ่ม โดยใช้เกณฑ์หลายๆอย่าง และคิดย้อนกลับ  (Reversibility) ได้  ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมและ ความสัมพันธืของตัวเลขก็เพิ่มมากขึ้น
 
ขั้นที่4...Formal Operations  (อายุ 12 ปีขึ้นไป)  ในขั้นนี้พัฒนาการเชาวน์ปัญญาและความคิดเห็นของเด็กเป็นขั้นสุดยอดคือ  เด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดเป็นผู้ใหญ่  ความคิดแบบเด็กสิ้นสุดลง  เด็กสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่  สามารถที่จะคิดเป็นนักวิทยาศาสตร์   สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎีและเห็นว่าความจริงที่เห็นด้วยกับการรับ  รู้ไม่สำคัญเท่ากับการคิดถึงสิ่งที่อาจเป็นไปได้ (Possibility)เพียเจต์ได้สรุปว่า"เด็กวัยนี้เป็นผู้ที่คิดเหนือไป  กว่าสิ่งปัจจุบันสนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับ ทุกสิ่งทุกอย่าง  และมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับกับสิ่งที่ไม่มีตัวตนหรือสิ่งที่เป็นนามธรรม


 

vdoออซูเบล

 
 
 
 
 
 
1. ออซูเบล (Ausubel , David 1963)                                                                                                       
 
 
 
ทฤษฎีของออซูเบลเป็นทฤษฎีที่หาหลักการอธิบายการเรียนรู้ที่เรียกว่า "Meaningful Verbal Learning" โดยเฉพาะ การเชื่อมโยงความรู้ที่ปรากฎในหนังสือที่โรงเรียนใช้กับความรู้เดิมที่อยู่ในสมองของผู้เรียน ในโครงสร้างสติปัญญา(Cognitive Structure) หรือการสอนโดยวิธีการให้ข้อมูลข่าวสาร ด้วยถ้อยคำทฤษฎีของออซูเบล เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างมีความเข้าใจทฤษฎีของออซูเบลบางครั้งเรียกว่า "Subsumption Theory"

  
2. ทฤษฎีกลุ่มพุทธิปัญญา (Cognitivism)


ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 นักทฤษฎีการเรียนรู้เริ่มตระหนักว่า การที่จะเข้าถึงการเรียนรู้ได้อย่างสมบูรณ์นั้น จะต้องผ่านการพิจารณา ไตร่ตรอง การคิด (Thinking) เช่นเดียวกับพฤติกรรม และควรเริ่มสร้างแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ในทรรศนะของ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการคิด(Mental change) มากกว่าการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ดังนั้นจึงมี การเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากความสนใจเกี่ยวกับสิ่งเร้ากับการตอบสนอง


3. กลุ่มพุทธิปัญญา (Cognitivism)

  
กลุ่มพุทธิปัญญา ให้ความสนใจเกี่ยวกับกระบวนการคิด การให้เหตุผลของผู้เรียน ซึ่งแตกต่างจากทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ที่มุ่งเน้นพฤติกรรมที่สังเกตได้เท่านั้น โดยมิได้สนใจกับกระบวนการคิดหรือกิจกรรมทางสติปัญญาของมนุษย์

4. การเรียนรู้อย่างมีความหมาย

คือ ผู้เรียนได้เชื่อมโยง (Subsumme) สิ่งที่จะต้องเรียนรู้ใหม่ กับความรู้เดิมที่มีมาก่อนที่มีในโครงสร้างในสติปัญญาของผู้เรียนมาแล้ว
ออซูเบลให้ความหมายการเรียนรู้อย่างมีความหมาย( Mearningful learning) ว่า เป็นการเรียนที่ผู้เรียนได้รับมาจากการที่ผู้สอน อธิบายสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ให้ทราบและผู้เรียนรับฟังด้วยความเข้าใจ โดยผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับโครงสร้างพุทธิปัญญาที่ได้เก็บไว้ในความทรงจำ และจะสามารถนำมาใช้ในอนาคต ออซูเบลได้ชี้ให้เห็นว่าทฤษฎีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะอธิบายเกี่ยวกับพุทธิปัญญา
 
5. ประเภทของการเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย

1. Subordinate learning
1.1 Deriveration Subsumption
เป็นการเชื่อมโยงสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ใหม่กับหลักการหรือกฎเกณฑ์ที่เคยเรียนมาแล้ว โดยการได้รับข้อมูลมาเพิ่ม เช่น มีคนบอก
1.2 Correlative subsumption
เป็นการเรียนรู้ที่มีความหมายเกิดจากการขยายความ หรือปรับโครงสร้างทางสติปัญญาที่มีมาก่อนให้สัมพันธ์กับสิ่งที่จะเรียนรู้ใหม่
2. Superordinate learning
เป็นการเรียนรู้โดยการอนุมาน โดยการจัดกลุ่มสิ่งที่เรียนใหม่เข้ากับความคิดรวบยอดที่กว้างและครอบคลุมความคิดยอดของสิ่งที่เรียนใหม่
3. Combinatorial learning
เป็นการเรียนรู้หลักการ กฎเกณฑ์ต่างๆเชิงผสม ในวิชาคณิตศาสตร์ หรือ วิทยาศาสตร์ โดยการใช้เหตุผล หรือการสังเกต

6. เทคนิคการสอน

ออซูเบลได้เสนอแนะเกี่ยวกับ Advance organizer เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมายจากการสอนหรือบรรยายของครู โดยการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างความรู้ที่มีมาก่อนกับข้อมูลใหม่ หรือความคิดรวบยอดใหม่ ที่จะต้องเรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายที่ไม่ต้องท่องจำ หลักการทั่วไปที่นำมาใช้ คือ
- การจัด เรียบเรียง ข้อมูลข่าวสารที่ต้องการให้เรียนรู้ ออกเป็นหมวดหมู่
- นำเสนอกรอบ หลักการกว้างๆ ก่อนที่จะให้เรียนรู้ในเรื่องใหม่
- แบ่งบทเรียนเป็นหัวข้อที่สำคัญ และบอกให้ทราบเกี่ยวกับหัวข้อสำคัญ


7. สรุปได้ว่า การเรียนรู้อย่างมีความหมาย (Mearningful learning)
 
ออซูเบล เป็นทฤษฎีกลุ่มพุทธิปัญญา เน้นความสำคัญของผู้เรียน ออซูเบลจะสนับสนุนทั้ง Discovery และ Expository technique ซึ่งเป็นการสอนที่ครูให้หลักเกณฑ์ และผลลัพธ์ ออซูเบลมีความเห็นว่าสำหรับเด็กโต (อายุเกิน11หรือ 12 ปี)นั้น การจัดการเรียนการสอนแบบ Expository technique น่าจะเหมาะสมกว่าเพราะเด็กวัยนี้สามารถเข้าใจเรื่องราว คำอธิบายต่างๆได้

vdoบันดูรา

 
 
 
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม

             ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมนี้ เป็นแนวคิดของ แบนดูรา (Bandara 1977: 16 อ้างถึงใน ภัทรธิรา ผลงาม. 2544 หน้า 28) ซึ่งมีความเชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์ นอกเหนือจากปฏิกิริยาสะท้อนเบื้องต้นแล้ว เกิดจากการเรียนรู้ทั้งสิ้น และการเรียนรู้พฤติกรรมใหม่เหล่านั้นสามารถเรียนรู้ได้โดยประสบการณ์ตรงหรือไม่ก็โดยการสังเกต องค์ประกอบทางชีววิทยามีบทบาทสำคัญในกระบวนการเรียนรู้โดยพฤติกรรม นั้นก็ คือองค์ประกอบในตัวบุคคลมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้พฤติกรรม ในการอธิบายกระบวนการเกิดพฤติกรรมของมนุษย์
แบนคูรา ได้อธิบายรูปของการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่องระหว่างพฤติกรรม องค์ประกอบส่วนบุคคลและองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม โดยที่องค์ประกอบทั้ง 3 นี้จะมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน.
พฤติกรรมองค์ประกอบส่วน บุคคลและองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม มีอิทธิพลซึ่งกันและกัน กล่าวคือ พฤติกรรมของมนุษย์สามารถกำหนดสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมก็สามารถกำหนด พฤติกรรม พฤติกรรมสามารถกำหนดองค์ประกอบส่วนบุคคล องค์ประกอบส่วนบุคคลก็สามารถกำหนดพฤติกรรมได้เช่นกัน ในทำนองเดียวกัน องค์ประกอบทาง สิ่งแวดล้อมและองค์ประกอบส่วนบุคคลก็มีอิทธิพลซึ่งกันและกัน
แบนดูรา ได้กล่าวถึงตัวกำหนดพฤติกรรมว่า มี 2 ประการ คือ ตัวกำหนดพฤติกรรมที่เป็นสิ่งเร้า ซึ่งได้แก่เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมการเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆในสิ่งแวดล้อมซ้ำ ๆ มนุษย์จะคาดการณ์ไว้ว่า ถ้ามีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นจะมีเหตุการณ์อะไรตามมาและตัวกำหนดพฤติกรรมอีกประการหนึ่ง คือ ตัวกำหนดที่เป็นผล ซึ่งได้แก่ผลของการกระทำมนุษย์จะเลือกกระทำพฤติกรรมที่ ได้รับผลทางบวก และจะหลีกการกระทำพฤติกรรมที่จะได้รับผลทางลบ
วิธีการเรียนรู้พฤติกรรมของมนุษย์ แบนลูราได้กล่าวว่า วิธีการเรียนรู้พฤติกรรมของมนุษย์มี 2 วิธี คือ การเรียนจากผลของการกระทำ และวิธีการเรียนรู้จากการเลียนแบบ โดยที่การเรียนรู้จากผลของการกระทำเป็นการ เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ซึ่งจะทำหน้าที่ 3 ประการ คือให้ข้อมูล จูงใจ และ เสริมแรง ส่วนการเรียนรู้จากการเลียนแบบเป็นการเรียนรู้จากการสังเกตตัวแบบกระทำ พฤติกรรม ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ทางอ้อม การเรียนรู้จากตัวแบบอาศัย กระบวนการเรียนรู้จากการสังเกตเป็นผลสำคัญ ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ กระบวนการใส่ใจกระบวนการเก็บจำ กระบวนการทางกาย และ กระบวนการจูงใจ
นอกจากนี้ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมแบนดูรา ยังได้กล่าวถึงการควบคุมพฤติกรรมด้วยปัญญาไว้ว่า การเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่าง พฤติกรรมและผลของการกระทำจะอยู่ในรูปของความเชื่อและความคาดหวัง ซึ่งเป็น กระบวนการทางปัญญา ความเชื่อและความหวังนี้จะทำหน้าที่ควบคุมหรือกำกับการ กระทำของมนุษย์ในเวลาต่อมา การควบคุมพฤติกรรมด้วยปัญญาที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง 3 ประการ คือ ความเชื่อเกี่ยวกับกฎเกณฑ์เงื่อนไข การคาดหวังเกี่ยวกับความสามารถ ของตนเองและผลที่จะเกิดขึ้นและสิ่งจูงใจ
ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้แนวคิดของแบนดูรา เพื่อเป็นพื้นฐาน ในการกำหนดตัวแปรเกรดเฉลี่ย จากแนวคิดว่า สติปัญญาเป็นตัวควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์

vdoธอร์นไดค์


vdoฮาวิกเฮิร์ส

ทฤษฏีทฤษฏีพัฒนาการ Havighurst
  • ทฤษฎีพัฒนาการของ Havighurst ( Devolopment Talks )
ศาสตราจารย์โรเบิร์ต ฮาวิกเฮิร์ส (Robert Havighurst ) ให้ความหมายว่า งานพัฒนาการ หมายถึง งานที่มนุษย์ทุกคนต้องทำในแต่ละวัยของชีวิต สัมฤทธิ์ผลของงานพัฒนาการแต่ละวัย มีความสำคัญมากเพราะเป็นรากฐานของการเรียนรู้งานพัฒนาขั้นต่อไป
ฮาวิกเฮิร์ส ได้แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ไว้เป็น 6 ช่วงอายุ คือ
  1. วัยทารกและวัยเด็กเล็ก
  2. วัยเด็กตอนกลาง
  3. วัยรุ่น
  4. วัยผู้ใหญ่ตอนต้น
  5. วันผู้ใหญ่ตอนกลาง
  6. วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย
  • หลักพัฒนาการตามแนวคิดทฤษฎีนั้นเป็นอย่างไร
สามารถที่จะแสดงบทบาททางสังคมได้เหมาะกับตัวเอง เลือกและเตรียมตัวที่จะเลือกอาชีพในอนาคต พัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญาและความคิดรวบยอดต่างๆที่จำเป็นสำหรับสมาชิกของชุมชนที่มีสมรรถภาพ
  • การนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้
หลักสูตรสำหรับเด็กในระยะเริ่มแรกควรมุ่งสร้างความคิดรวบยอด โดยให้เด็กได้พบประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด เพื่อให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดจากสภาพที่เป็นจริง หลังจากนั้นจึงค่อยสร้างความคิดรวบยอดให้สิ่งที่เป็นนามธรรมต่อไปในภายหลัง เช่น ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเวลา โอกาส อำนาจรัฐบาล เป็นต้น
ในสังคมไทยเป็นสังคมที่ตระหนักในคุณค่าของกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมเป็นอันมาก ดังนั้นโรงงเรียนจึงมีบทบาทมากในการศึกษาอบรมและพัฒนาความรู้สึกผิดชอบชั่วดีและให้รู้กฎเกณฑ์ของการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข การดำเนินการของโรงเรียนอาจจะทำได้ในลักษณะต่อไปนี้
  1. โดยการสอนศีลธรรม จรรยามารยาท
  2. โดยการให้รางวัลในกรณีที่ทำความดีความชอบ และทำโทษกรณีที่ทำความผิด
  3. โดยการให้ผู้สอนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
  4. โดยการให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการอยู่ร่วมกันกับเพื่อน

  • ทักษะทางปัญญา
-พัฒนาความสามารถในการรู้จักเข้าใจตนเองและผู้อื่น การสื่อสาร การคิดวิเคราะห์
-ทราบถึงทฤษฎีพัฒนาการของนักจิตวิทยาทั้งหกท่าน

  • ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
-พัฒนาทักษะการรู้จักเข้าใจตนเองและผู้อื่น
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่มากขึ้น
-พัฒนาทักษะการรู้จักเข้าใจตนเองในเรื่องพัฒนาการต่างๆ
-มีความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน

  • ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
-พัฒนาการวิเคราะห์และการสรุปเนื้อหาทั้งในและนอกบทเรียน
- พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การหาข้อมูลเกี่ยวกับนักจิตวิทยาจากอินเตอร์เน็ต

  • การนำไปประยุกต์ใช้
-เราสามารถที่จะสังเกตการเจริญเติบโตและพัฒนาการของคนรอบข้างค่ะ
-เราสามารถที่จะรู้ว่าการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเราตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่นั้นเป็นอย่างไร

  • ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
-อยากให้มีสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย
-อยากให้มีตัวอย่างที่เห็นรูปภาพเพื่อที่ให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น

vdoอิริคสัน

 
 
ทฤษฎีพัฒนาการของ อิริคสัน (Erikson)
อิริคสัน ค.ศ.1902 เป็นนักจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อของอเมริกา และจัดอยู่ในกลุ่มฟรอยด์รุ่นใหม่
เกิดที่เมืองแฟรงเฟิต ประเทศเยอรมัน ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ประเทศอเมริกาในปี ค.ศ. 1933 และเป็นผู้วิเคราะห์เกี่ยวกับเด็กเป็นคนแรกในนครบอสตัน เห็นว่าการจะทำความเข้าใจพฤติกรรมเด็กจะต้องศึกษาจากการอบรมเลี้ยงดู สภาพสังคม และความเป็นอยู่ของเด็ก ปัญหาที่นำมาวิเคราะห์นั้นจะอธิบายเชื่อมโยงระหว่างจิตวิทยากับสังคมวิทยาในรูปแบบของมนุยวิทยา ซึ่งมีแนวความคิดว่ามนุษย์ต้องพึ่งสังคมและสังคมก็ต้องพึ่งมนุษย์ มนุษย์มีวิวัฒนาการที่สลับซับซ้อนและผ่านขั้นตอนต่างๆของธรรมชาติหลายขั้นตอน
พัฒนาการทางบุคลิกภาพ 8 ขั้นตอนของอิริคสัน
1. ความไว้วางใจกับความไม่ไว้วางใจ (Trust VS. Mistrust) (ในช่วง0 -1 ปี) ถ้าเด็กได้รับความรักใคร่ที่เหมาะสม ทำให้เขารู้สึกว่าโลกนี้ปลอดภัย น่าอยู่และไว้วางใจได้ แต่ถ้าตรงกับข้ามเด็กก็จะรู้สึกว่าโลกนี้เต็มไปด้วยอันตรายไม่มีความปลอดภัย มีแต่ความหวาดระแวง
2. ความเป็นตัวของตัวเองกับความคลางแคลงใจ (Autonomy VS. Doubt)(ในช่วง2 – 3 ปี) เด็กในวัยนี้จะเริ่มพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง รู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญและอยากเอาชนะสิ่งแวดล้อมหรืออำนาจที่มีอยู่ พ่อแม่จึงควรระวังในเรื่องความสมดุลในการเลี้ยงดู ควรให้โอกาสและกำลังใจต่อเด็ก เด็กจะพัฒนาความเป็นตัวเอง มีความมั่นใจ รู้จักอิสระที่จะควบคุมตนเอง แต่ถ้าพ่อแม่ไม่ให้โอกาสหรือทำแทนเด็กทุกอย่าง เด็กจะเกิดความคลางแคลงใจในความสามารถของตนเอง
3. ความริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiative VS. Guilt) (ในช่วง4 – 5 ปี) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดถึงการใช้ภาษาจะช่วยให้เด็กเกิดแง่คิดในการวางแผนและการริเริ่มทำกิจกรรมต่างๆ ก็จะเป็นการส่งเสริมทำให้เขารู้สึกต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าต่อไปเด็กก็จะมีความคิดริเริ่ม แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าผู้ใหญ่คอยเข้มงวด ไม่เปิดโอกาสให้เด็ก ตำหนิอยู่ตลอดเวลา เขาก็จะรู้สึกผิดเมื่อคิดจะทำสิ่งใดๆ นอกจากนี้เขาก็จะเริ่มเรียนรู้บทบาททางเพศมาตรฐานทางศีลธรรมและการควบคุมอารมณ์
4. ความขยันหมั่นเพียรกับความรู้สึกต่ำต้อย (Industry VS. Inferiority) (ในช่วง6 – 12 ปี) เด็กในวัยนี้จะเริ่มเข้าเรียนและต้องการเป็นที่ยอมรับของผู้อื่น มีพัฒนาการทางด้านความขยันขันแข็ง โดยพยายามคิดทำ คิดผลิตสิ่งต่างๆ ให้เหมือนผู้ใหญ่ด้วยการทุ่มเททั้งกำลังกายและกำลังใจ ถ้าเขาได้รับคำชมเชยก็จะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดกำลังใจ มีความมานะพยายามมากขึ้น แต่ถ้าตรงกันข้ามเด็กไม่ได้รับความสนใจหรือผู้ใหญ่แสดงออกมาให้เขาเห็นว่าเป็นการกระทำที่น่ารำคาญเขาก็จะรู้สึกต่ำต้อย
5. ความเป็นเอกลักลักษณ์กับความสับสนในบทบาท (Identity VS. Role Confusion) (ในช่วง12 – 17 ปี) เป็นช่วงที่เด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่น และเริ่มพัฒนาเอกลักษณ์ของตนเองว่าตนคือใคร ถ้าเขาค้นหาตนเองได้ เขาจะแสดงบทบาทของตนเองได้อย่างเหมาะสม แต่ถ้าตรงกันข้ามเขาค้นหาเอกลักษณ์ของตนไม่พบเขาจะเกิดความสับสนและแสดงบทบาทที่ไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกับตนเอง
6. ความผูกพันกับการแยกตัว(Intimacy VS. Isolation) (ในช่วง18- 34 ปี) เป็นขั้นของการพัฒนาทางด้านความรัก ความผูกพัน เมื่อบุคคลสามารถค้นพบเอกลักษณ์ของตนเองได้แล้ว ก็เกิดความรู้สึกต้องการมีเพื่อนสนิทที่รู้ใจ สามารถปรับทุกข์ซึ่งกันและกันได้ ตลอดถึงแสดงความยินดี และเสียสละให้แก่กัน แต่ถ้าพัฒนาการในช่วงนี้ล้มเหลวไม่สามารถสร้างความรู้สึกเช่นนี้ได้ เขาก็จะขาดเพื่อนสนิท หรือเกิดความรู้สึกต้องการจะชิงดีชิงเด่น ชอบทะเลาะกับผู้อื่น รู้สึกว้าเหว่เหมือนถูกทอดทิ้ง ซึ่งจะนำไปสู่การแยกตัวเอง และดำเนินชีวิตอย่างโดดเดี่ยว
7. การทำประโยชน์ให้สังคมกับการคิดถึงแต่ตนเอง (Generativity VS. Self Absorption) (ในช่วง35 – 60 ปี) เป็นช่วงของวัยกลางคน ซึ่งมีความพร้อมที่จะสร้างประโยชน์ให้สังคมได้เต็มที่ ถ้าพัฒนาการแต่ละขั้นตอนที่ผ่านมาดำเนินไปด้วยดี มีการดูแลรับผิดชอบเอาใจใส่ต่อบุตรหลานให้มีความสุข มีการอบรมสั่งสอนบุตรหลานให้เป็นคนดีต่อไปในอนาคต แต่ถ้าตรงกันข้ามก็จะไม่ประสบความสำเร็จ เขาจะเกิดความรู้สึกท้อถอย เบื่อหน่ายชีวิต คิดถึงแต่ตนเองไม่รับผิดชอบต่อสังคม
8. บูรณาการกับความสิ้นหวัง (Integrity VS. Despair) (ในช่วง60 ปีขึ้นไป) เป็นช่วงของวัยชราซึ่งเป็นวัยสุดท้าย ถ้าบุคคลผ่านขั้นตอนต่าง ๆ มาด้วยดี ก็จะมองอดีตเต็มไปด้วยความสำเร็จ มีปรัชญาชีวิตตนเอง ภูมิใจในการถ่ายทอดประสบการณ์ต่างให้แก่ลูกหลาน แต่ถ้าตรงกันข้ามกันชีวิตมีแต่ความล้มเหลว ก็จะเกิดความรู้สึกสิ้นหวังในชีวิต เสียดายเวลาที่ผ่านมาไม่พอกับชีวิตในอดีตไม่ยอมรับสภาพตนเอง เกิดความคับข้องใจต่อสภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ขาดความสงบสุขในชีวิต
สรุป ทฤษฎีของอีริคสัน เป็นทฤษฎีที่อธิบายพัฒนาการของชีวิตตั้งแต่งวัยทารกจนถึงวัยชรา อีริคสันเชื่อว่า วัยแรกของชีวิตเป็นวัยที่เป็นรากฐานเบื้องต้น และวัยต่อ ๆ มาก็สร้างจากรากฐานนี้ ถ้าหากในวัยทารกเด็กได้รับการดูแลอย่างดีและอบอุ่น ก็จะช่วยให้เด็กมีความเชื่อถือในผู้อื่นที่อยู่รอบ ๆ ตั้งแต่บิดามารดา บุคคลต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเขา จะช่วยให้เด็กช่วยตนเอง มีความตั้งใจที่จะทำอะไรเอง และเมื่อเขาเติบโตขึ้นก็จะเป็นผู้ที่รู้สึกว่าตนเองมีสมรรถภาพที่จะทำอะไรได้ นอกจากนี้จะมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น สามารถที่จะยอมรับสิ่งที่ดีและไม่ดีของตนเองได้และผู้อื่นสามารถที่จะสนิทสนมกับผู้อื่น ทั้งเพศเดียวกันและเพศตรงข้ามโดยสนิทใจ โดยไม่มีความอิจฉาว่าเพื่อนจะดีกว่าตน เมื่อเป็นผู้ใหญ่ก็จะเป็นผู้เสียสละไม่เห็นแก่ตัวดูแลผู้ที่อ่อนเยาว์กว่า เช่น ลูกหลาน หรือคนรุ่นหลังต่อไป และเมื่ออยู่ในวัยชราก็จะมีความสุข เพราะว่าได้ทำประโยชน์และหน้าที่มาอย่างเต็มที่แล้ว อีริคสสันถือว่าชีวิตของคนเรา แต่ละวัยจะมีปัญหา บางคนก็สามารถแก้ปัญหาด้วยตนเอง และดำเนินชีวิตไปตามขั้น แต่บางคนก็แก้ปัญหาเองไม่ได้ อาจจะต้องไปพบจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยาช่วยเพื่อแก้ปัญหา แต่บุคลิกภาพของแต่ละบุคคลเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และทุกคนมีโอกาสที่จะแก้ไขบุคลิกภาพของตน และผู้ใหญ่ที่อยู่แวดล้อมก็มีส่วนที่จะช่วยส่งเสริมหรือแก้ไขบุคลิกภาพของผู้เยาว์ที่อยู่ในความดูแลให้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข

vdoพาฟลอฟ

 
 
 
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค

พาพลอฟ เชื่อว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากเกิดจากการวางเงื่อนไข กล่าวคือ การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้าหนึ่งมักมีเงื่อนไขหรือสถานการณ์เกิดขึ้น ซึ่งในสภาพปกติหรือในชีวิตประจำวันการตอบสนองเช่นนั้นอาจไม่มี เช่น กรณีสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งและน้ำลายไหล เสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข พาพลอฟ เรียกว่า สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข และปฏิกิริยาน้ำลายไหล เป็นการตอบสนองที่เรียกว่าการตอบสนองที่มีเงื่อนไข

องค์ประกอบสำคัญในการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง จะต้องประกอบด้วยกระบวนการของส่วนประกอบ 4 อย่าง คือ

1. สิ่งเร้า เป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยาโต้ตอบออกมา

2. แรงขับ จะทำให้เกิดปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป

3. การตอบสนอง เป็นปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่แสดงออกมาเมื่อได้รับการ กระตุ้นจากสิ่งเร้า

4. สิ่งเสริมแรง เป็นสิ่งมาเพิ่มกำลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองให้มีแรงขับเพิ่มขึ้น

กฎการเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นในการทดลอง พาฟลอฟ ได้สรุปเป็นกฎ 4 ข้อคือ

1. กฎการลบพฤติกรรม

2. กฎแห่งการคืนกลับ

3. กฎความคล้ายคลึงกัน

4. การจำแนก

ลักษณะของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค

1.การตอบสนองเกิดจากสิ่งเร้า หรือสิ่งเร้าเป็นตัวดึงการตอบสนองมา

2.การตอบสนองเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่ได้จงใจ

3.ให้ตัวเสริมแรงก่อน แล้วผู้เรียนจึงจะตอบสนอง เช่น ให้ผงเนื้อก่อนจึงจะมีน้ำลายไหล

4.รางวัลหรือตัวเสริมแรงไม่มีความจำเป็นต่อการวางเงื่อนไข

5.ไม่ต้องทำอะไรกับผู้เรียน เพียงแต่คอยจนกระทั่งมีสิ่งเร้ามากระตุ้นจึงจะเกิดพฤติกรรม

6.เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาสะท้อนและอารมณ์ ซึ่งมีระบบประสาทอัตโนมัติเข้าไปเกี่ยวข้องในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล

การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน

1.ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล

2.การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์

3.การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข

4.การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่างๆ
 

 

 

 

 
 

 
 




 

แสดงความคิดเห็น






vdoทฤษฎีของฟรอยด์

ฟรอยด์ (Freud, 1856-1939) เป็นชาวออสเตรีย มีความเชื่อว่า บุคลิกภาพของผู้ใหญ่ที่แตกต่างกันเนื่องมาจากประสบการณ์ของแต่ละคนเมื่อเวลาอยู่ในวัยเด็ก และขึ้นอยู่กับว่าเด็กแต่ละคนแก้ปัญหาของความขัดแย้งของแต่ละวัยอย่างไร โดย 5 ปีแรกของชีวิตจะมีความสำคัญมาก
ฟรอยด์ได้แบ่งจิตของมนุษย์ออกเป็น 3 ระดับ คือ จิตสำนึก (Conscious) จิตก่อนสำนึก (Pre-conscious) และจิตไร้สำนึก (Unconscious)
นอกจากนี้ฟรอยด์ยังได้กล่าวว่ามนุษย์มีสัญชาตญาณติดตัวมาแต่กำเนิด และได้แบ่งสัญชาตญาณออกเป็น 2 ชนิด คือสัญชาตญาณเพื่อการดำรงชีพ (Life Instinct)และสัญชาตญาณเพื่อความตาย (Death Instinct)สัญชาตญาณบางอย่างจะถูกเก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึก ได้ตั้งสมมติฐานว่า มนุษย์เรามีพลังงานอยู่ในตัวตั้งแต่เกิดเรียกพลังงานนี้ว่า "Libido" เป็นพลังงานที่ทำให้คนเราอยากมีชิตอยู่ อยากสร้างสรรค์และอยากมีความรัก มีแรงขับทางด้านเพศหรือกามารมณ์ (Sex) เพื่อจุดเป้าหมายคือความสุขและความพึงพอใจ (Pleasure) โดยมีส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ไวต่อความรู้สึกและได้เรียกส่วนนี้ว่าErogenous Zones แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้

1. ขั้นปาก (Oral Stage) 0-18 เดือน ฟรอยด์เรียกขั้นนี้ว่าเป็นขั้น Oral เพราะความพึงพอใจอยู่ที่ช่องปาก เริ่มตั้งแต่เกิด เป็นวัยที่ความพึงพอใจเกิดจากการดูดนมแม่ นมขวด และดูดนิ้ว เป็นต้น ในวัยนี้ความคับข้องใจจะเกิดขึ้น ถ้าเด็กหิวแต่แม่ไม่ให้นมเลยหรือให้นมแต่ไม่พอ ถ้าหากเด็กเกิดความคับข้องใจจะทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “การติดตรึงอยู่กับที่” (Fixation)
2. ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) 18 เดือน – 3 ปี เด็กวัยนี้ได้รับความพึงพอใจทางทวารหนัก คือ จากการขับถ่ายอุจจาระ และในระยะซึ่งเป็นสาเหตุของความขัดแย้งและความคับข้องใจของเด็กวัยนี้ เพราะพ่อแม่มักจะหัดให้เด็กใช้กระโถนและต้องขับถ่ายเป็นเวลา เนื่องจากเจ้าของความต้องการของผู้ฝึกและความต้องการของเด็กเกี่ยวกับการขับถ่ายไม่ตรงกัน ของเด็กคือความอยากที่จะถ่ายเมื่อไรก็ควรจะทำได้ เด็กอยากจะขับถ่ายเวลาที่มีความต้องการ
3. ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage) 3-5 ปี ความพึงพอใจของเด็กวัยนี้อยู่ที่อวัยวะสืบพันธุ์ เด็กมักจะต้องลูบคลำอวัยวะเพศ ระยะนี้ฟรอยด์กล่าวว่า เด็กผู้ชายมีปมเอ็ดดิปุส (Oedipus Complex) โดยอธิบายการเกิดของปมเอ็ดดิปุสว่า เด็กผู้ชายติดแม่และรักแม่มาก และต้องการที่จะเป็นเจ้าของแม่แต่เพียงคนเดียว แต่ขณะเดียวกันก็ทราบว่าแม่และพ่อรักกัน และก็รู้ดีว่าตนด้อยกว่าพ่อทุกครั้งทั้งด้านกำลังและอำนาจ ประกอบกับความรักพ่อและกลัวพ่อ ฉะนั้น เด็กก็พยายามที่จะเก็บกดความรู้สึกที่อยากเป็นเจ้าของแม่แต่คนเดียว และพยายามทำตัวให้เหมือนกับพ่อทุกอย่าง ส่วนเด็กหญิงมีปมอีเล็คตรา (Electra Complex) เหมือนกันปมเอ็ดดิปุส แรกทีเดียวเด็กหญิงก็รับแม่มากเหมือนเด็กชาย แต่เมื่อโตขึ้นพบว่าตนเองไม่มีอวัยวะเพศเหมือนเด็กชาย จึงคิดว่าแม่เป็นคนรับผิดชอบเพราะแม่เป็นคนใกล้ชิดที่สุด และโกรธแม่ว่าเป็นคนที่ทำให้ตนไม่มีอวัยวะเพศเหมือนกับเด็กชาย อิจฉาผู้ที่มีอวัยวะเพศชาย แต่เมื่อทำอะไรไม่ได้ก็ยอมรับและโกรธแม่มาก ถอนความรักจากแม่มารักพ่อที่มีอวัยวะเพศที่ตนปรารถนาจะมี แต่ก็รู้ว่าแม่และพ่อรักกัน เด็กหญิงจึงแก้ปัญหาด้วยการใช้กลไกป้องกันตน โดยเก็บความรู้สึกความต้องการของตน (Repression) และเปลี่ยนจากการโกรธเกลียดแม่มาเป็นรักแม่ (Reaction Formation) ขณะเดียวกันก็อยากทำตัวให้เหมือนแม่ จึงเลียนแบบ สรุปได้ว่าเด็กหญิงมีความรักพ่อแต่ก็รู้ว่าแย่งพ่อมาจากแม่ไม่ได้จึงเลียนแบบแม่
4. ขั้นแฝง (Latency Stage) เด็กวัยนี้อยู่ระหว่างอายุ 6-12 ปี เป็นระยะที่ฟรอยด์กล่าวว่า เด็กเก็บกดความต้องการทางเพศหรือความต้องการทางเพศลดลง (Quiescence Period) เด็กชายมักเล่นหรือจับกลุ่มกับเด็กชาย ส่วนเด็กหญิงก็จะเล่นหรือจับกลุ่มกับเด็กหญิง
5. ขั้นสนใจเพศตรงข้าม (Genital Stage) วัยนี้เป็นวัยรุ่นเริ่มตัวแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป จะมีความต้องการทางเพศ วัยนี้จะมีความสนใจในเพศตรงข้าม ซึ่งเป็นระยะเริ่มต้นของวัยผู้ใหญ่ 

ฟรอยด์กล่าวว่า ถ้าเด็กโชคดีและผ่านวัยแต่ละวัยโดยไม่มีปัญหาก็จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกภาพปกติ แต่ถ้าเด็กมีปัญหาในแต่ละขั้นของพัฒนาการก็จะมีบุคลิกภาพผิดปกติ ซึ่งฟรอยด์ได้ตั้งชื่อตามแต่ละวัย เช่น Oral Personalities เป็นผลของ Fixation ในวัยทารกจนถึง 2 ปี ถ้า Fixation เกิดในระยะที่ 2 ของชีวิต คือ อายุราวๆ 2-3 ปี จะทำให้บุคคลนั้นมีบุคลิกภาพแบบ Anal Personality ซึ่งอาจจะมีลักษณะต่างๆ ดังนี้

1. เป็นคนเจ้าสะอาดมากเกินไป (Obsessively Clean)
2. อาจจะมีลักษณะตรงข้ามเลย คือ รุงรัง ไม่เป็นระเบียบ
3. อาจจะเป็นคนสุรุ่ยสุร่าย หรือตระหนี่ก็ได้
 
Id เป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด แต่เป็นส่วนที่เป็นจิตไร้สำนึก มีหลักการที่จะสนองความต้องการของตนเองเท่านั้น เอาแต่ได้อย่างเดียว และจุดเป้าหมายก็คือ หลักความพึงพอใจ (Pleasure principle) Id จะผลักดันให้ Ego ประกอบในส่งต่างๆ ตามที่ Id ต้องการ
Ego เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่พัฒนามาจากการที่ทารกได้ติดต่อหรือมีปฏิสัมพันธ์กับโลกภาพนอก บุคคลที่มีบุคลิกภาพปกติคือ บุคคลที่ Ego สามารถที่ปรับตัวให้เกิดสมดุลระหว่างความต้องการของ Id โลกภายนอก และ Superego หลักการที่ Ego ใช้คือหลักแห่งความเป็นจริง (Reality Principle)
Superego เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่เกิดขึ้นในระยะที่ 3 ของพัฒนาการที่ชื่อว่า Phallic Stage เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่ตั้งมาตรการของพฤติกรรมให้แต่ละบุคคล โดยรับค่านิยมและมาตรฐานจริยธรรมของบิดามารดาเป็นของตน โดยตั้งเป็นมาตรการความประพฤติ มาตรการนี้จะเป็นเสียงแทนบิดา มารดา คอยบอกว่าอะไรควรทำ หรือไม่ควรทำ มาตรการของพฤติกรรมโดยมากได้มาจากกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่พ่อแม่สอนและมักจะเป็นมาตรฐานจริยธรรมและค่านิยมของพ่อแม่
Superego แบ่งเป็น 2 อย่าง คือ Conscious ซึ่งคอยบอกให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา และอีกอันหนึ่งคือ Ego ideal ซึ่งสนับสนุนให้มีความประพฤติดี ส่วน Conscious มักจะเกิดจากการบู่ว่าจะทำโทษ เช่น ถ้าทำอย่างนั้นเป็นเด็กไม่ดี ควรจะละอายแก่ใจที่ประพฤติเช่นนั้น ส่วน Ego ideal มักจะเกิดจากการให้แรงเสริมบวกหรือการยอมรับ เช่น แม่รักหนูเพราะหนูเป็นเด็กดี
ฟรอยด์กล่าวว่า พัฒนาการทางบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะขั้นวัยทารก วัยเด็ก และวันวัยรุ่น ระบบทั้งสามจะทำงานประสานกันดีขึ้นเนื่องจากเด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือโลกภายนอกมากขึ้น ยิ่งโตขึ้น Ego ก็จะยิ่งแข็งแกร่งขึ้น และสามารถที่จะควบคุม Id ได้มากขึ้น องค์ประกอบที่มีส่วนในพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่ฟรอยด์ได้กล่าวไว้ มีดังนี้
1. วุฒิภาวะ หมายถึง ขั้นพัฒนาการตามวัย
2. ความคับข้องใจที่เกิดจากความสมหวังไม่สมหวัง เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก
3. ความคับข้องใจ เนื่องมาจากความขัดแย้งภายใน
4. ความไม่พร้อมของตนเอง ทั้งทางด้านร่างกาย เชาว์ปัญญา การขาดประสบการณ์
5. ความวิตกกังวล เนื่องมาจากความกลัวหรือความไม่กล้าของตน

ฟรอยด์เชื่อว่า ความคับข้องใจเป็นพื้นฐานสำหรับพัฒนาการทางบุคลิกภาพ แต่ต้องมีจำนวนพอเหมาะที่จะช่วยพัฒนา Ego แต่ถ้ามีความคับข้องใจมากเกินไปก็จะเกิดปัญหาทำให้เกิดกลไกในการป้องกันตัว (Defense Mechanism) ซึ่งเป็นวิธีการปรับตัวในระดับจิตไร้สำนึก โดยฟรอยด์และบุตรสาว (แอนนา ฟรอยด์) ได้แบ่งประเภทกลไกการป้องกันตัว ได้แก่
1. การเก็บกด (Repression) หมายถึง การเก็บกดความรู้สึกไม่สบายใจหรือความรู้สึกผิดหวัง ความคับข้องใจไว้ในจิตใต้สำนึก
2. การป้ายความผิดให้แก่ผู้อื่น (Projection) หมายถึง การลดความวิตกกังวล การป้ายความผิดให้แก่ผู้อื่น
3. การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง (Rationalization) หมายถึง การปรับคัวโดยการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง โดยให้คำอธิบายที่เป็นที่ยอมรับสำหรับคนอื่น
4. การถดถอย (Regression) หมายถึง การหนีกลับไปอยู่ในสภาพอดีตที่เคยทำให้ตนมีความสุข
5. การแสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความปรารถนาที่แท้จริง (Reaction Formation) หมายถึง กลไกป้องกันตน โดยการทุ่มเทในการแสดงพฤติกรรมตรงข้ามกับความรู้สึกของตนเองที่ตนเองคิดว่าเป็นสิ่งที่สังคมอาจจะไม่ยอมรับ
6. การสร้างวิมานในอากาศหรือการฝันกลางวัน (Fantasy หรือ Day dreaming) กลไกป้องกันตัวประเภทนี้เป็นการสร้างจินตนาการหรือมโนภาพเกี่ยวกับสิ่งที่ตนมีความต้องการ แต่เป็นไปไม่ได้
7. การแยกตัว (Isolation) หมายถึง การแยกตนให้พ้นจากสถานการณ์ที่นำความคับข้องใจมาให้ โดยการแยกตนออกไปอยู่ตามลำพัง
8. การหาสิ่งมาแทนที่ (Displacement) เป็นการระบายอารมณ์โกรธหรือคับข้องใจต่อคนหรือสิ่งของที่ไม่ได้เป็นต้นเหตุของความคับข้องใจ
9. การเลียนแบบ (Identification) หมายถึง การปรับตัวโดยการเลียนแบบบุคคลที่ตนนิยมยกย่อง