วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

vdo เกสตัลท์

  เกสตัลท์ (Gestalt Therapy) เขาเกิดในเยอรมันเมื่อปี ค.ศ. 1893 ได้รับปริญญาแพทย์ศาสตร์ในปี ค.ศ.1920 และได้ประสบการณ์เกี่ยวกับจิตเวชในเบอร์ลิน โดยใช้วิธีจิตวิเคราะห์ในการบำบัดรักษาคนไข้ หลังจากนั้นฟิลส์ได้อพยพครอบครัวมาอยู่ที่แอฟริกาใต้ และได้เริ่มคิดวิธีการอื่นในการบำบัดรักษาคนไข้โรคจิต โรคประสาท ต่อมาในปี ค.ศ. 1946 เขาย้ายมาอยู่ในอเมริกาและในช่วงนั้นเฟิลส์ได้นำวิธีการแบบเกสตัลท์มาใช้ในการบำบัดรักษาคนไข้ จนกระทั่งถึงแก่กรรมในปี ค. ศ. 1970
เขาได้แต่งตำราไว้หลายเล่ม อาทิ เช่น
    “Gestalt Therapy  : Excitement and Growth in the Human Personality” (Perls ,Hefferline and Goodman, ค.ศ. 1951)
     “Gestalt Therapy Verbatim” (Perls, ค.ศ. 1969)
                 แม้ว่าเฟิลส์จะมีแนวความคิดเกี่ยวกับการบำบัดแบบเกสตัลท์มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1947 ก็ตามแต่วิธีการนี้เพิ่งแพร่หลายมากในปัจจุบัน มีหนังสือต่างๆ เกี่ยวกับจิตบำบัด แบบเกสตัลท์ และวิธีให้บริการปรึกษาแบบเกสตัลท์หลายเล่ม กับทั้งมีผู้นำทฤษฎีนี้ไปใช้ในการให้บริการให้บริการปรึกษา
                กล่าวโดยสรุป คือ ทฤษฎีการให้การปรึกษาเชิงบำบัดแนวเกสตัลท์  เป็นการบำบัดทางประสบการณ์ ซึ่งส่วนใหญ่เน้นที่การมีสติหรือการตระหนักรู้ ถึงความรู้สึกของตนเองที่เกิดขึ้นในขณะนั้น และการทำงานของกายกับใจที่ควบคู่กันไป กล่าวคือเป็นการทำงานของความคิด ความรู้สึก และการรับรู้ ที่รวมกันเป็นกระแสธาร ลักษณะของจิตบำบัดแนวเกสตัลท์จึงเป็นแบบ Holistic Approach ซึ่ง Perls เชื่อว่าจะทำให้เกิดบูรณาการได้มากกว่าที่จะแยกออกมาวิเคราะห์เป็นบางส่วน
การพิจารณามนุษย์ตามแนวคิดของทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบจิตวิทยาเกสตัลท์
          จิตวิทยาเกสตัลท์มีแนวความคิดเกี่ยวกับการพิจารณามนุษย์ดังนี้คือ
  1.   มนุษย์เป็นอิสระจากอดีต เขาอยู่ในปัจจุบันมนุษย์ไม่สามารถจัดการกับอดีตและอนาคตได้อย่างแน่นอน แต่บุคคลสามารถดำเนินการกับปัจจุบันได้แน่นอนกว่า
มีคำกล่าวเกี่ยวกับแนวความคิดของเกสตัลท์ว่า
“จงอยู่กับปัจจุบัน อย่าอยู่กับอดีต และอย่าเลื่อยลอยไปกับอนาคต”
  1.   ทฤษฎีมีความเชื่อเหมือนทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบบุคคลเป็นศูนย์กลางและทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบภวนิยม ที่ว่ามนุษย์มีความสามารถที่จะปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมและดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพสามารถแก้ปัญหาและตัดสินใจได้ด้วยตัวเองและมีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง
  2.   มนุษย์พยายามพัฒนาตนเองแต่มีความหมายแตกต่างจากการพัฒนาตัวเองของทฤษฎีให้บริการปรึกษาแบบผู้รับบริการแบบศูนย์กลาง ซึ่งเน้นให้ผู้รับบริการพัฒนาตนเองในอนาคต แต่แนวคิดของการให้บริการปรึกษาแบบเกสตัลท์เน้นให้ผู้รับบริการพัฒนาตนเองในปัจจุบัน
  3.   มนุษย์สามารถจัดระบบชีวิต และแก้ปัญหาของตนเองได้ (Self regulation) เมื่อเกิดอารมณ์เครียดหรือเกิดความต้องการด้านต่างๆ ขึ้น มนุษย์จะพยายามทำให้เกิดความสมดุล เช่น พยายามลดความเครียดลง หรือพยายามกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จะสนองความต้องการ แต่ถ้ามนุษย์มัวแต่รำพึงรำพันถึงอดีตหรือแสวงหาอนาคตโดยไม่นึกถึงภาวะปัจจุบัน เขาก็จะไม่สามารถจัดระเบียบหรือลดความเครียดด้านจิตลงได้
  4.   การที่มนุษย์ตระหนักรู้ (Awareness) ในความต้องการของตน จะช่วยให้มนุษย์หาทางตอบสนองความต้องการ แต่ถ้าพยายามหลีกเลี่ยงไม่นึกถึงความต้องการนั้น จะใช้พลังงานไปในการเก็บกดความต้องการซึ่งจะทำให้เครียดหนักขึ้นและไม่สามารถตอบสนองความต้องการใดๆ ได้
  5.   บุคคลประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สัมพันธ์กันทั้งร่างกาย อารมณ์ ความคิด ความรู้สึกและการรับรู้ เป็นการผสมผสานกัน(integration)เป็นการแสดงออกอย่างคนที่เป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง
  6.   มนุษย์เกิดมาโดยไม่ได้มีความดีและความชั่วติดตัวมาด้วย
  7.   มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม เขาต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การที่จะเข้าใจบุคคลจะต้องเข้าใจสิ่งแวดล้อมของเขาด้วย
  8.   บุคคลมีเสรีภาพที่จะเลือกตอบสนองต่อสิ่งเร้า
  9. การตระหนักต่อความรู้สึก ความคิด อารมณ์และการรับรู้ของตนในสภาพการณ์ต่างๆ ช่วยให้บุคคลสามารถตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม
หลักการของจิตวิทยาเกสตัลท์ที่นำมาให้บริการปรึกษา
               จิตวิทยาเกสตัลท์เกิดขึ้นในประเทศเยอรมัน ตอนต้นศตวรรษที่ 20 ผู้นำแนวคิดของจิตวิทยาเกสตอลท์คือ เคิท คอฟกา (Kurt Koffka) วูฟแกง เคอเลอร์ (Wolfgang Koehler และแมค เวอร์ไทเมอร์ (Max Wertheimer)
             หลักการของจิตวิทยาเกสตัลท์ที่นำมาใช้ให้บริการปรึกษา(Behaviorism) คือพฤติกรรมนิยมเน้นหน่วยย่อยของพฤติกรรมตอบสนอง ซึ่งนักจิตวิทยาเกตตัลท์เห็นว่าจะทำให้เกิดข้อจำกัดมากเกินไป โดยมีแนวความคิดว่ามนุษย์จะรวบรวมสิ่งเร้าทั้งหลายและประมวลเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นการรัยรู้ที่มีความหมายทั้งหมดของบุคคล (the whole) สิ่งเร้าต่างๆ จะมีความหมายก็ต่อเมื่อบุคคลจัดระบบสิ่งเหล่านี้เข้าด้วยกันและประมวลกันเข้าเป็นการรับรู้ของเขา
              เฟิลส์ได้นำหลักการของจิตวิทยาเกสตัลท์ที่ว่า มนุษย์จะรับรู้สิ่งเร้าต่างๆ โดยนำสิ่งเร้านั้นมาสัมพันธ์กันเป็นสิ่งที่มีความหมาย (closure) นั่นก็คือ มนุษย์พยายามที่จะประติดประต่อสิ่งต่างๆ ให้มีความหมายในการรับรู้ของเขา และมีความต้องการจะแก้ปัญหาที่ติดค้างอยู่ในใจ (unfinished business) ให้สำเร็จลุล่วงลงนอกจากนั้นเฟิลส์ได้ตีความของคำว่า “การรับรู้” ว่าคือการรวมการรับรู้ของบุคคลที่มีต่อประสบการณ์ อารมณ์และการรับสัมผัสของเขาเข้าด้วยกัน
             การรับรู้ของบุคคลในสิ่งที่เขาให้ความสนใจและตระหนักจะเปรียบเทียบเป็นภาพ(figure) และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เปรียบได้กับพื้น(ground) มนุษย์ไม่ได้ตอบสนองต่อทุกๆ สิ่งเร้า การที่บุคคลจะตอบสนองขึ้นอยู่กับการที่เขาตระหนักหรือให้ความสนใจต่อสิ่งเร้า ตัวอย่างเช่น “ขณะที่ฉันนั่งลงเขียนหนังสือ ฉันตระหนักถึงสิ่งต่างๆ อย่างไม่เด่นชัดนัก เช่นเก้าอี้ที่ฉันนั่ง ปากกาที่ฉันถือ ห้องที่ฉันอยู่ สิ่งที่ฉันตระหนักมากที่สุดคือ การรวบรวมความคิดของฉันและเขียนลงบนกระดาษ ขณะที่ฉันเหนื่อยและเมื่อยฉันตระหนักหรือให้ความสนใจต่อความปวดเมื่อยตามร่างการและรู้สึกถึงรสชาติกาแฟที่ดื่ม กาแฟช่วยให้ฉันสดชื่นขึ้น แต่ในที่ฉันตระหนักต่อการเขียนหนังสือ รสชาติของกาแฟจะเป็นเรื่องรองลงมา” จะเห็นได้ว่าจิตวิทยาเกสตัลท์เน้นการรับรู้ของบุคคลที่มีต่อประสบการณ์ อารมณ์ และการรับสัมผัสของเขา สิ่งที่เขารับรู้หรือให้ความสนใจในขณะนั้นเปรียบเหมือนภาพ(figure) ส่วนสิ่งเร้าอื่นๆ เปรียบเหมือนพื้น (ground) ซึ่งภาพและพื้นนั้นอาจเปลี่ยนกลับไปกลับมาได้ เช่น เปลี่ยนความสนใจหรือความตระหนักกลับไปกลับมาระหว่างการเขียนหนังสือกับรสชาติของกาแฟ
             หลักการของการให้บริการปรึกษาแบบเกสตัลท์เน้น  ปัจจุบัน  เพราะอดีตก็จากเราไปแล้ว  และ อนาคต เป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง การคิดถึงแต่อดีตเป็นการหนีการคิดดำเนินการกับปัจจุบัน หรือหนีการเผชิญปัญหาในปัจจุบัน  และการที่บุคคลครุ่นคิดถึงแต่อนาคตจะก่อให้เกิดความวิตกกังวล  ดังนั้นปัจจุบันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรเน้น แต่คนส่วนใหญ่คิดถึงปัจจุบันแต่เพียงชั่วครู่ชั่วขณะเท่านั้น  ฉะนั้นผู้ให้บริการปรึกษาควรพยายามให้ผู้รับบริการตระหนักในปัจจุบันมากกว่าที่จะคิดถึงประสบการณ์
ความเชื่อของการบำบัดแนวเกสตัลท์ พอสรุปได้ดังนี้
                      1. มนุษย์มีลักษณะเป็นหน่วยที่มีความสมบูรณ์อยู่ในตนเอง ร่างกาย อารมณ์ ความคิด ประสาทสัมผัสและการรับรู้ มีการทำงานที่สัมพันธ์กัน มนุษย์จึงมีลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การเข้าใจมนุษย์นั้นจะเข้าใจเฉพาะในแต่ละส่วนไม่ได้ จำเป็นต้องเข้าใจลักษณะของหน่วยเต็มทั้งหน่วย คือบุคคล
                      2. มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม การที่จะเข้าใจมนุษย์ให้ลึกซึ้งจำเป็นต้องเข้าใจทั้งบุคคล และสภาพแวดล้อมของเขา
                      3. มนุษย์เป็นผู้เลือกที่จะแสดงพฤติกรรมของตนเองในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก และภายใน
                      4. มนุษย์มีความสามารถที่จะรับรู้หรือสัมผัสถึงความคิด อารมณ์ และการรับรู้ของตนเอง
                      5. มนุษย์มีประสิทธิภาพในการรับรู้ถึงตนเอง มีสติ (Self Awareness) จึงทำให้มนุษย์มีความสามารถในการตัดสินใจเลือก พร้อมทั้งมีความรับผิดชอบต่อพฤติกรรมของเขา
                     6. มนุษย์มีความสามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                      7. มนุษย์ไม่สามารถนำตนเองไปเผชิญกับอดีตหรืออนาคตได้ เขาสามารถเผชิญเหตุการณ์ด้วยตนเองได้กับปัจจุบันเท่านั้น นั้นคือ คนเราสามารถรับรู้ถึงประสบการณ์ส่วนตนจากปัจจุบันเท่านั้น อดีตหรืออนาคตสามารถรับรู้ได้จากปัจจุบัน โดยการจำหรือการคิดคาดหวัง
8. โดยพื้นฐานของธรรมชาติแล้ว มนุษย์เราไม่ดีหรือไม่เลวโดยกำเนิด

แนวคิดกับสภาวะปัจจุบัน (The Now)
                    สำหรับ Perls แล้ว การมีชีวิตอยู่ก็คือ “ปัจจุบัน” อดีตนั้นเป็นสิ่งที่ผ่านไปแล้ว และอนาคตก็ยังเป็นเรื่องที่มาไม่ถึง มีแต่ปัจจุบันเท่านั้นที่มีความหมายสำคัญ สิ่งที่ Perls เน้นมากที่สุดก็คือ ที่นี่และและเดี๋ยวนี้ (Here and Now) Perls เชื่อว่าพลังของคนเรามีอยู่กับปัจจุบัน การจะดำรงชีวิตอยู่กับปัจจุบัน ก็จะต้องอยู่อย่างมีคุณภาพ และตรงตามสภาพความเป็นจริงของชีวิต บุคคลที่ไม่สามารถรับรู้ถึงสภาวะปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็เนื่องจากการสูญเสียพลังงานที่ใช้ไปกับการครุ่นคิดคำนึงถึงสิ่งที่ผ่านมาในอดีต และมุ่งมั่นจะวางแผนในอนาคตอย่างไม่รู้จบ บุคคลนั้นก็จะเกิดความวิตกกังวลขึ้นมา
                      สำหรับสภาพของผู้มีทุกข์ Perls เชื่อว่ามักจะเป็นบุคคลที่ขาดการตระหนักรู้ กล่าวคือไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรที่จะสามารถดำรงชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพกล่าวคือมีชีวิตอยู่เพียงแค่ให้หมดสิ้นไปวันหนึ่งเท่านั้น รู้สึกช่วยเหลือตนเองไม่ได้ สิ้นหวังในชีวิต ไม่รู้จะจัดการกับตนเองอย่างไร ขาดความรับผิดชอบต่อตนเอง เป็นบุคคลที่มีธุรกิจคั่งค้างอยู่ในตัวอย่างมาก และหาทางออกโดยการหนีจากสภาวะปัจจุบันไปอยู่กับอดีตและอนาคต
จุดมุ่งหมายของการให้การปรึกษาแบบเกสตัลท์
                   1. ให้ผู้รับการปรึกษาเปลี่ยนพฤติกรรมจากการพึ่งพาผู้อื่น มาสู่การพึ่งพาตนเอง รับผิดชอบต่อตนเองพัฒนาไปสู่การมีวุฒิภาวะ
                    2. ให้ผู้รับการปรึกษามีประสบการณ์เกี่ยวกับการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง สามารถใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่
                    3. ช่วยให้ผู้รับการปรึกษาได้ใช้พลังงานของชีวิตอยู่กับปัจจุบัน รู้จักปล่อยวางอดีต โดยการทำความรู้สึกที่คั่งค้างให้สมบูรณ์ และไม่วิตกเกี่ยวกับอนาคต
                    4. ช่วยให้ผู้รับการปรึกษากล้าเป็นตัวของตัวเองที่แตกต่างไปจากบุคคลอื่น เข้าใจในค่านิยมและกฏเกณฑ์ของสังคม
บทบาทของผู้ให้บริการปรึกษาแบบเกสตัลท์
                    1. ผู้ให้บริการปรึกษาจะไม่ทำตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญที่จะตีความหมาย ประสบการณ์ของผู้รับบริการหรือคาดคะเนอนาคตให้ผู้รับบริการ
                    2. . ผู้ให้บริการปรึกษาจะต้องช่วยให้ผู้รับบริการเกิดความกระตือรือร้น มีความรับผิดชอบ และพร้อมที่จะพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่
                    3. . ผู้ให้บริการปรึกษาจะเปิดโอการให้ผู้รับบริการได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการให้บริการปรึกษาให้มากที่สุด
                    4. . ผู้ให้บริการปรึกษาจะสังเกตความไม่สอดคล้องกันระหว่างคำพูดกับอารมณ์ของผู้รับบริการ  แล้วป้อนกลับไปให้ผู้รับบริการได้ตระหนักถึงพฤติกรรมและอารมณ์ของเขาในขณะนั้น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น